หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาธานินทร์ ฐิติวีโร (อินทวี)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๓ ครั้ง
การศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ (๒๕๔๕)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาธานินทร์ ฐิติวีโร (อินทวี) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
  นางสาวรุ่งรัตน์ สุวนาคกุล
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ เมษายน ๒๕๔๕
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ ผู้วิจัยได้ทำการทบทวน หลักการ ทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา การศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และองค์ประกอบที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ โดยผู้วิจัยได้มีการพัฒนาแบบทดสอบขึ้นเป็น ๒ ฉบับ ได้แก่ ๑. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาก่อนเข้าเรียน สถานภาพของครอบครัว ๒. แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน ๓๐ ข้อคำถาม มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘ เพื่อให้นักเรียนตอบข้อที่สอดคล้องกับนักเรียนมากที่สุด

                ผลการศึกษาพบว่า มีนักเรียนตอบแบบสอบถาม ๑๙๒ รูป ระดับอายุของนักเรียนส่วนใหญ่ ๑๖-๒๐ ปี การศึกษาเดิมก่อนเข้าเรียนพบว่า ส่วนมากจบชั้นประถมศึกษา ๖ เกี่ยวกับครอบครัวพบว่า ส่วนใหญ่เคนอาศัยอยู่กับบิดามารดา บิดามารดาอยู่ด้วยกันและยังมีชีวิตอยู่ อาชีพของบิดามารดาพบว่าส่วนใหญ่ทำนา รายได้ส่วนใหญ่ระบุไม่ได้

                เกี่ยวกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์อย่ในระดับมาก (คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๘๘)

                การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เมื่อพิจารณาข้อคำถามรายข้อ แล้วสามารถปรับเข้ากับหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาเรื่องอิทธิบาท ๔ ซึ่งเป็นหลักธรรมการนำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย ซึ่งได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา คือเมื่อนักเรียนมีความต้องการจะประสบความสำเร็จทางการเรียนแล้ว นักเรียนควรจะมีความขยันหมั่นเพียร มีความคิดและจิตใจที่ตั้งมั่นในการศึกษาเล่าเรียน พร้อมทั้งมีความคิดไตร่ตรองโดยใช้เหตุผลต่อการเรียน

                ผลจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้นอกจากทำให้ทราบระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จ.ศรีสะเกษ แล้ว ยังสามารถนำผลไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น มีการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนสนใจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียน มีการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในห้องเรียน เพื่อเพิ่มแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียน

Download : 254504.pdf
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕