หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปลัดกิจเมธี ติกฺขวีโร (เพื่อนฝูง)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
การศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชนในเขตตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปลัดกิจเมธี ติกฺขวีโร (เพื่อนฝูง) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเวียง กิตฺติวณฺโณ, ดร.
  ดร.วิชาสินี ศุขะพันธุ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการศึกษา รูปแบบและวิธีการที่พระสงฆ์        ในเขตตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ที่นำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชน  โดยใช้การเก็บข้อมูล โดยการจัดสนทนากลุ่ม  กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชนในเขตตำบลดอนมูลโดยตรง  คือ พระสงฆ์   เยาวชน ผู้ปกครอง  ผู้นำชุมชน  และเจ้าหน้าที่ตำรวจ   ในชุมชนดอนมูล  ชุมชนดอนแท่น  และชุมชนร้องแหย่ง จำนวน ๖๐  รูป/คน  

                ผลการศึกษาพบว่า  พบว่า พฤติกรรมของเยาวชนที่ไม่พึงประสงค์ในชุมชน  คือ  ๑) ปัญหาการมั่วสุมของเด็ก   ๒) ปัญหาการเสพยาเสพติด    ๓) ปัญหายกพวกตีกัน และ ๔)ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร    โดยมีสาเหตุของพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มาจากปัญหาทางสังคมสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู  ปัญหาของพ่อแม่   ซึ่งทั้ง ๓ ชุมชน  มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเยาวชนอยู่ในรูปแบบของการจัดกิจกรรม คือ ๑) การจัดกิจกรรม เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว    ๒) กิจกรรมอบรมให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ  เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย อันควร   ๓) การสอนให้เยาวชนได้ไหว้พระสวดมนต์   ฝึกสมาธิ การแผ่บารมี การแผ่เมตตา   ๔) การเผยแผ่หลักคำสอน   ทางพระพุทธศาสนา  และ ๕) การให้คำแนะนำทางด้านการอบรมแก่เยาวชนในโอกาสต่างๆ เช่น บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน การนำเยาวชนเข้าค่ายพุทธบุตรโดยมุ่งพัฒนาให้ผู้ที่เข้ารับการอบรม ให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

                จากการสังเคราะห์ข้อเสนอแนะจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่าบทบาทของพระสงฆ์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชน คือ ๑) เพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของสมาชิกครอบครัว  ปลูกฝังวิถีการดำเนินชีวิตที่ดี  ๒) อบรมสั่งสอนเยาวชน ให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ มีพฤติกรรมที่เหมาะสมตามวัย   และ ๓) เสริมสร้างความรู้ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว     โดยบทบาทที่สำคัญของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเยาวชน ในเขตพื้นที่ คือ ๑) การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหา ระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชน และกลุ่มเพื่อนวัยรุ่น    ให้ผู้นำชุมชน ได้มีบทบาทในการช่วยกันประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ  อาสาสมัคร  ตำรวจบ้าน  ผู้ปกครอง  ครู อาจารย์  และประชาชนในชุมชน  ช่วยกันเฝ้าระวังพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กวัยรุ่น ไม่ให้เกิดปัญหาภายในชุมชน  ๒) โรงเรียนควรให้การสนับสนุนพระสงฆ์ได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนจริยศึกษา ในโรงเรียนอย่างจริงจัง   และมีระบบระเบียบมากขึ้น   ควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ต่างๆ   ทางด้านจริยธรรมอย่างกว้างขวาง ๓) ควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ  ทางจริยธรรม และ ๔) พระสงฆ์ควรจะปรับปรุงบทบาทของตนในเรื่องของการเป็นแบบอย่างที่ดีทางด้านจริยธรรมให้สมาชิกในสังคม  เกิดการยอมรับและเลื่อมใส  ซึ่งจะทำให้การสั่งสอนอบรมของพระสงฆ์มีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕