การศึกษาแนวคิดเรื่องอธิษฐานบารมีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท นี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องบารมีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาการบำเพ็ญอธิษฐานบารมีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๓) เพื่อนำเสนอวิธีการประยุกต์ใช้อธิษฐานบารมีในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
การบำเพ็ญอธิษฐานบารมี การตั้งมั่นสมาทานอย่างไม่หวั่นไหว คือความตั้งมั่นที่เป็นไปในอาการต่างๆ มีลักษณะคือ การตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวในที่นั้น “บารมี” นั้นมี ๓ ระดับคือ “บารมี” เป็นการสร้างคุณความดีในชาติต่างๆ เหมือนคนปกติทั่วไป “อุปบารมี” เป็นบารมีที่สร้างความดียิ่งๆขึ้นไป และความดีก็เริ่มจะสมบรูณ์ขึ้นจัดเป็น “ปรมัตถบารมี” เป็นบารมีที่เต็มเปี่ยมจนสามารถบรรลุธรรมได้ อธิษฐานบารมีจึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการทำความดี
เรื่องของ การบำเพ็ญอธิษฐานบารมี นั้นเป็นการอธิษฐานบารมี ในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าที่เสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากุกกุระ ทรงบำเพ็ญอธิษฐานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นมาตังคบัณฑิต และทรงบำเพ็ญอธิษฐานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเตมิยราชกุมาร
การแบ่งระดับขั้นของการบำเพ็ญบารมีว่าเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงการเลื่อนระดับขั้นของการทำความดี จากระดับปกติสามัญจนถึงระดับสูงสุดในบารมีทั้ง ๑๐ ประการนั้น แต่ละระดับขั้นของการบำเพ็ญออกเป็น ๓ ระดับ คือ
- ขั้นบารมี บารมีสามัญ หรือปกติธรรม
- ขั้นอุปบารมี บารมีระดับกลาง
- ขั้นปรมัตถบารมี บารมีระดับสูง
อธิษฐานบารมี ในการพัฒนาชีวิตนั้นสามารถที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาในสังคมไทยได้ ทั้งในด้านการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ นำแนวคิดเรื่องหลักการบำเพ็ญอธิษฐานบารมีมาประยุกต์ใช้ในสังคมไทยย่อมสามารถที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้
ผลการวิจัยพบว่า การบำเพ็ญบารมีถือว่าเป็นหลักการสร้างความดีในทางพระพุทธศาสนา โดยการบำเพ็ญบารมีนั้นมีอยู่ ๑๐ ประการ มีทานบารมี เป็นต้น และอธิษฐานบารมี นั้นก็ถือว่าเป็นหนึ่งในกรอบการสร้างความดี ผู้ที่มุ่งหวังความเจริญหรือการบรรลุธรรมขั้นสูงพึงนำไปปฏิบัติ คำว่าอธิษฐานบารมีหมายถึง การตั้งมั่นสมาทานอย่างไม่หวั่นไหว คือความตั้งมั่นที่เป็นไปในอาการต่างๆ อันกำกับด้วยความกรุณาและอุบายโกศล กำกับ มีลักษณะคือ การตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวใน เป็นต้น
Download |