หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางอภิสร มีผล
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๙ ครั้ง
การศึกษาศรัทธาในฐานะปัจจัยเกื้อกูลต่อการเข้าถึงเป้าหมายของพระพุทธศาสนา (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : นางอภิสร มีผล ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร (เทียบ สิริญาโณ), ผศ.ดร.
  ดร.ประพันธ์ ศุภษร
  ว่าง
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาศรัทธาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาศรัทธาในฐานะปัจจัยเกื้อกูลต่อการเข้าถึงเป้าหมายของพระพุทธศาสนาเถรวาท ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของศรัทธาในฐานะปัจจัยเกื้อกูลต่อการเข้าถึงเป้าหมายเป้าหมายของพระพุทธศาสนาเถรวาท  โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยในเชิงเอกสาร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎกอรรถกถา วรรณกรรม รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ตามหลักการวิจัย และนำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อซึ่งประกอบด้วยปัญญาและกลั่นกรองในการตัดสินใจ  ศรัทธา หมายถึง  ความเชื่อในพระรัตนตรัยซึ่งการเกี่ยวข้องกับการบรรลุธรรมของพระพุทธศาสนา  ศรัทธามีลักษณะ ทำให้ใจผ่องใส ทำให้แล่นไปด้วยดีในการบรรลุธรรม  มูลเหตุให้เกิดศรัทธา ได้แก่ รูป ความเศร้าหมอง เสียง ธรรม ศรัทธามีความสำคัญตามความหมายและหน้าที่ คือ  เป็นพื้นฐานในกระบวนการพัฒนาสู่ปัญญา เป็นพื้นฐานในกระบวนการปฏิบัติกัมมัฏฐาน  เป็นส่วนประกอบพื้นฐานในหมวดธรรม  ศรัทธา ๔ ประเภท ได้แก่  กัมมสัทธา วิปากสัทธา กัมมัสสกตาสัทธา  ตถาคตโพธิสัทธา  คุณค่าและประโยชน์ของศรัทธาในการพัฒนามนุษย์ คือ ๑) ศรัทธาทำให้คนได้อริยทรัพย์ ๒) ศรัทธาทำให้คนข้ามโอฆะ      ๓) ศรัทธาทำให้คนบรรลุธรรมของพระอรหันต์ ๔) ศรัทธาทำให้คนผู้อยู่ครองเรือนให้ได้รับทั้งประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ภายหน้า   

ความสัมพันธ์ของศรัทธาในฐานะปัจจัยเกื้อกูลต่อการเข้าถึงเป้าหมาย  ในระดับโลกิยะ คือปัญญาในระดับที่เป็นความรู้เห็นในเรื่องของโลก  ศรัทธาซึ่งเกิดจากพระรัตนตรัยและโยนิโสมนสิการ  ความสัมพันธ์ในระดับโลกิยะมีความสำคัญและประโยชน์ คือ ทำให้ได้             โลกิยปัญญา  มีผลต่อการเกิดโลกุตตรปัญญา  ยังมีประโยชน์สุขต่อภพปัจจุบันและภพหน้า  ความสัมพันธ์ระดับโลกิยะเป็นปัจจัยเริ่มต้นของการปฏิบัติตามอริยมรรค  และเป็นปัจจัยเกื้อกูลของเครื่องข่มนิวรณ์  เมื่อพัฒนาระดับปัญญาให้เป็นระดับโลกุตตระ จะได้       โลกุตตรปัญญา  ปัญญาในโลกุตตรธรรมบรรพชิตใช้สิกขา ๓ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา กับการปฏิบัติของตน ส่วนคฤหัสถ์ใช้ทางแห่งการทำความดี ๓ ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา กับการปฏิบัติของตน ความสัมพันธ์ของศรัทธาในระดับโลกุตตระ มีความสำคัญเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติกัมมัฏฐาน  เพื่อการบรรลุ มรรค ผล นิพพาน

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕