หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายรัตนชัย บุญศรี
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๘ ครั้ง
อิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเซนในงานของท่านพุทธทาสภิกขุ (๒๕๔๕)
ชื่อผู้วิจัย : นายรัตนชัย บุญศรี ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีวรญาณ (ณรงค์ จิตฺตโสภโณ)
  นายสนิท ศรีสำแดง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๕
 
บทคัดย่อ

     วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยต้องการจะศึกษาถึงอิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเซน (ฌาน) ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีอิทธิพลต่องานของท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านได้ขยายความหมายของนิกายเซน โดยอาศัยแนวทางหรือวิธีการปฏิบัติของท่านเว่ยหล่าง พระสังฆปริฌายกองค์ที่ ๖ แห่งนิกายฌาน (เซน) ในประเทศจีน ประเด็นสำคัญของเรื่องที่ศึกษาในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เกี่ยวกับเรื่องหลักๆ ๓ ประการคือ

     ๑. อิทธิพลของพระพุทะศาสนานิกายเซน ต่อคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ

     ๒. อิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเซน ต่อวิธีการสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ

     ๓. อิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเซน ต่อวัฒนธรรมพุทธที่สวนโมกข์

      ผู้วิจัยได้ศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของพระพุทธศาสนานิกายฌาน (เซน) ในประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่น ในแง่ของคำสอน วิธีการสอนและวัฒนะรรมของพุทธศาสนานิกายเซนที่มีอิทธิพลต่อศิลปะการฟันดาบ ศิลปะการจัดดอกไม้ ศิลปะการปรุงน้ำชา ศิลปะการจัดสวน และบทกวีไฮกุและความรักธรรมชาติ

     นอกจากนี้ ได้วิเคราะห์ถึงสถานะของพระพุทธศาสนาในบริบทของสังคมไทย ในมุมมองทางสังคมศาสตร์เป็น ๓ ฝ่าย คือ

     ๑. พระพุทธศาสนาในชนชั้นปกครอง

     ๒. พระพุทะศาสนาของฝ่ายปฏิรูป

     ๓. ไสยศาสตร์ของไทย

     ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นตัวแทนของพระพุทะศาสนาฝ่ายปฏิรูปและผู้นำที่สำคัญต่อการปฏิรูปคำสอนของพระพุทธศาสนาของไทย ผู้วิจัยได้วิเคราะห์พระพุทธศาสนามหายาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธศาสนานิกายฌาน (เซน) ที่มีอิทธิพลในงานของท่านพุทธทาสภิกขุทั้งที่เป็นคำสอน วิธีการสอน และอิทิพลต่อวัฒนธรรมพุทธที่สวนโมกข์  ในส่วนที่มีอิทธิพลต่อคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุนั้นมีด้วยกัน ๓ ประการ คือ แนวคิดเรื่อง สุญญตา, จิตว่าง, และ ความไม่ยึดมั่นถือมั่น

     ในคำสอนเรื่องสุญญตา ท่านพุทธทาสภิกขุ เน้นว่า เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ซึ้งสอดคล้องกับหลักปฏิจจสมุปบาท และหลักอนัตตาในฝ่ายเถรวาท ส่วนเรื่องจิตว่างก็ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนาเถรวาทด้วย โดยท่านพุทธทาสภิกขุได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของจิตว่างในการทำงานในชีวิตประจำวัน ส่วนเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้ชี้ให้เห็นว่า คือสติปัญญาขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งนำไปสู่ความดับทุกข์

     สำหรับอิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายฌาน (เซน) ต่องานของท่านพุทธทาสภิกข์นั้น การอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญ การจัดตั้งสวนโมกข์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ชุมชนชาวพุทธได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติดังคำกล่าวของท่านที่ว่า ธรรมะคือธรรมชาติ ธรรมชาติคือธรรมะนั่นเองวิธีการสอนใช้ภาพปริศนาธรรม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนานิกายฌาน (เซน) ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปของภาพเขียน ที่โรงมหรสพทางวิญญาณ ในสวนโมกขพลาราม สระน้ำนาฬิเกร์ รวมทั้งภาพพุทธประวัติที่ไม่ปรากฏรูปของพระพุทธเจ้าอยู่ด้วยในสวนโมกข์ ส่วนการศึกษาคัมภีร์และตำรานั้น ท่านพุทธทาสภิกขุเห็นว่า คัมภีร์และตำรามีความสำคัญในฐานะที่เป็นแผนที่เพื่อการเดินทางให้ถึงเป้าหมายคือ พระนิพพาน เปรียบเหมือนนิ้วที่ชี้ไปยังดวงจันทร์ ส่วนพระนิพพาน คือ ตัวประสบการณ์ เปรียบเหมือนดวงจันพร์โดนตรง

     สำหรับอิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายฌาน (เซน) มีต่อวัฒนธรรมพุทธที่สวนโมกข์นั้นสะท้อนออกมาในรูปของการอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ การมีโบสถ์ธรรมชาติ การจัดลานหินโค้งและต้นไม้ และการเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย

 

 

 

Download : 254502.pdf
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕