วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษา : พฤติกรรมการใช้วาจาในมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา นักศึกษาชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ปทุมธานี มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษา พฤติกรรมการใช้วาจาในมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา นักศึกษาชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ปทุมธานี ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้วาจาในมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา นักศึกษาชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ปทุมธานี ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนวทางแก้ไขการใช้วาจาในมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา นักศึกษาชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ปทุมธานี
ดำเนินการวิจัยโดยวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ปทุมธานี ใช้วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม (questionnaires) จำนวนทั้งสิ้น ๓๕๑ ชุด วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-distribution)
การทดสอบค่าเอฟ (f-distribution) การวิเคราะห์ตัวแปรทางเดียวและเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD’s Method
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ระดับพฤติกรรมการใช้วาจาในมหาวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับไม่แน่ใจ เมื่อ ( = ๓.๓๗) แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ อยู่ในระดับ จริง (X = ๓.๕๖ – ๓.๔๔) ส่วนการพูดเพ้อเจ้อ มีพฤติกรรมการใช้วาจาอยู่ในระดับไม่แน่ใจ (X = ๓.๐๒) ดังนั้นค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมการใช้วาจาในมหาวิทยาลัยด้านการพูดเท็จมีค่าเฉลี่ยมาก
๒. นักศึกษาผู้มีเพศ อายุ คณะที่เรียน คะแนนเฉลี่ยสะสม การนับถือศาสนา ที่แตกต่างกัน มีผลต่อระดับพฤติกรรมการใช้วาจาในมหาวิทยาลัยที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕
๓. ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขพฤติกรรมการใช้วาจาในมหาวิทยาลัย ด้านการพูดเท็จ(มุสาวาท) พยายามพูดแต่ความจริง ศึกษาธรรมะเพราะจะทำให้เกรงกลัวบาป ด้านการพูดส่อเสียด (ปิสุณาวาจา) ไม่ยุให้ผู้อื่นทะเลาะกัน มีสติระลึกอยู่เสมอว่าสิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร ด้านการพูดคำหยาบ (ผรุสวาจา) ให้พูดจาสุภาพ คิดก่อนพูด แนะนำตักเตือนตัวเราอย่าพูด คำหยาบ ด้านการพูดเพ้อเจ้อ (สัมผัปปลาปะ) พูดสิ่งที่มีประโยชน์ ไม่พูดจาเหลวไหลไร้สาระหรือพูดมากเกินไป เอาเวลาไปทำสิ่งที่มีประโยชน์ เป็นต้น ตามลำดับ
Download |