หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสุพรชัย อานนฺโท (นครพันธ์)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องทุกข์ในพุทธปรัชญาเถรวาท กับแนวคิดทุกขนิยมของโชเป็นเฮาเออร์ (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระสุพรชัย อานนฺโท (นครพันธ์) ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๑๑/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาณรงค์ กนฺตสีโล, ผศ.ดร.
  พระใบฎีกาเสน่ห์ ญาณเมธี, ดร.
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร  ซึ่งได้ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่อง  ความทุกข์  ในพุทธปรัชญาเถรวาทกับแนวคิดทุกขนิยมของโชเป็นเฮาเออร์  โดยมุ่งศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน  และแนวคิดที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาวิจัย  มีดังนี้

ความทุกข์ตามพุทธปรัชญา  หมายถึง  ภาวะที่บีบคั้นและสภาพที่แย้งต่อความสุขที่เกิดขึ้นกับสรรพสิ่งด้วยการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า  สามารถแบ่งเป็น    ประเภท  คือ ทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ  แสดงออกมา ๓ ลักษณะ  ได้แก่ลักษณะทนได้ยาก  มีลักษณะที่แปรปรวนตลอดเวลาไม่อยู่ในอำนาจที่จะควบคุมได้    มีลักษณะเป็นของปรุงแต่งและปรุงแต่งสิ่งอื่นพร้อมกันไปในตัว  ด้วยเหตุนี้พุทธปรัชญาจึงมีลักษณะเป็นสัจนิยม ไม่เป็นทุกขนิยม  โดยที่มีสาเหตุคือ  อวิชชา ก่อให้เกิดกามตัณหา  ภวตัณหา วิภวตัณหา  พุทธปรัชญาจึงได้เสนอวิธีการดับทุกข์ไว้อย่างครอบคลุม  คือเพื่อเข้าถึงโลกียสุข  ได้แก่ปัจจัยสี่  สัปปายะสี่ด้วยการควบคุมของศีล   ซึ่งเกี่ยวเนื่องเพื่อเข้าถึงโลกุตรสุข  ด้วยการปฏิบัติตามสมาธิและปัญญา  ซึ่งเป็นวิธีการดับทุกข์ทางใจ อันทำให้เกิดการปฏิบัติที่จะอยู่บนโลกได้อย่างมีความสุข  เหนือทุกข์และสุข  เข้าถึงบรมสุข  นิรามิสสุข  เพื่อตัดวงจรของสังสารวัฏ 

โชเป็นเฮาเออร์กล่าวว่า  ความทุกข์หมายถึง  ชีวิตที่มีแต่ความขาดแคลน หรือความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง  (unsatisfied will)  และความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วยังมีความอยากตามมาอีก ซึ่งก่อให้เกิดเป็นความทุกข์    ประเภทใหญ่ ๆ  คือ  ความทุกข์ทางกายและความทุกข์ทางใจ แสดงให้ทุกข์เกิดขึ้น    ลักษณะ คือ  ลักษณะที่ดิ้นรน  ลักษณะเป็นความปรารถนาอันยังไม่สมหวัง  ลักษณะเศร้าซึมและเบื่อหน่ายวิตกกังวล  สิ่งที่เป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์ต่าง ๆ  มาจาก  เจตจำนง  ความเห็นแก่ตัว  และสมรรถภาพในการคิด  เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของบุคคล  จึงหาวิธีการปลดปล่อยเพื่อจะให้เกิดความสุขมาแทน  โชเป็นเฮาเออร์จึงกล่าวว่ามี    วิธี  ได้แก่  วิธีการดับทุกข์ทางกาย คือการดื่มด่ำหรือการเข้าอยู่ในความงามของศิลปะ  และวิธีการดับทุกข์ทางใจ คือการสละความต้องการทางโลก  เมื่อปฏิบัติตามก็จะเข้าถึงชีวิตที่เป็นสุข ปราศจากความทุกข์ทางกายและความทุกข์ทางใจ  อันเป็นการบรรลุถึงเป้าหมายสูงสุดอย่างแท้จริง

                จากการเปรียบเทียบทั้งสองทัศนะ  ทำให้เห็นความคล้ายคลึงกันว่า  ชีวิตตามพุทธปรัชญาและโชเป็นเฮาเออร์ เป็นแก่นแท้ที่ทำให้เป็นทุกข์  ทั้งทางกายและทางใจ  ทุกข์เกิดจากการยึดมั่น หรือความอยากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความอยากในความมีอยู่  ความดับทุกข์จะได้มาจากการละทิ้งความอยาก  ส่วนพุทธปรัชญาต้องละอวิชชาที่เป็นบ่อเกิดของความอยาก  และสิ่งที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคือวิธีการดับทุกข์  เพราะพุทธปรัชญาให้ความสำคัญทั้งด้านโลกียสุขกับโลกุตรสุข

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕