หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระบุญช่วย โชติวํโส (อุ้ยวงค์)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
ศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในความเชื่อและพิธีกรรมการบายศรีสู่ขวัญของชาววานรนิวาส (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระบุญช่วย โชติวํโส (อุ้ยวงค์) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๑/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาประมวล ฐานทตฺโต, ดร.
  ผศ.ดร. โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
  ดร.พิเชฐ ทั่งโต
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของบายศรีสู่ขวัญ ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการบายศรีสู่ขวัญของชาววานรนิวาส และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในความเชื่อและพิธีกรรมการบายศรีสูขวัญของชาววานรนิวาส  ตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

ความเป็นมาของบายศรีสู่ขวัญนั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด แต่มีนักวิชาการได้กล่าวว่ามีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ บายศรี เป็นสื่อกลางในการแสดงออกถึงวัฒนธรรมที่ดีงาม เป็นการแสดงออกถึง ความเคารพ ศรัทธา ของคนในอดีตที่เห็นความสำคัญของครูบาอาจารย์ คุณบิดามารดา ผ่านการแสดงออกถึงเคารพศรัทธาในตัวบุคคล ซึ่งอาศัยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การสร้างสรรค์คุณค่าของภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีการสืบทอดต่อกันมาเป็นเอกลักษณ์ของคนในสังคมหรือชุมชนนั้นมาจนถึงปัจจุบัน

ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการบายศรีสู่ขวัญของชาววานรนิวาส พบว่าเป็นความเชื่อผสมผสานระหว่างความเชื่อดั้งเดิม ความเชื่อของพราหมณ์ ความเชื่อของพุทธศาสนา ซึ่งชาวตำบลวานรนิวาส ได้เชื่อถือและปฏิบัติกันมา โดยปรากฏผ่านสัญลักษณ์ในการประกอบพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญสามารถจำแนกได้เป็น ๓ ประเภท  ด้วยกัน ประเภทที่ ๑ พิธีกรรมการบายศรีสู่ขวัญคน มีดังนี้ การสู่ขวัญพระสงฆ์  การสู่ขวัญผู้สูงอายุ การสู่ขวัญแต่งงาน การสู่ขวัญคนป่วย พิธีกรรมเหล่านี้ พบหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา เพราะว่าสามารถนำเอาหลักธรรมไปใช้ได้ในการดำเนินชีวิต  ประเภทที่ ๒ พิธีกรรมการสู่ขวัญสัตว์ พบเฉพาะการสู่ขวัญควายเท่านั้น ไม่มีการสู่ขวัญสัตว์ชนิดอื่น เพราะชาววานรนิวาสมีความเชื่อว่าควายเป็นสัตว์ที่คุณ โดยการใช้แรงงาน แต่ไม่พบหลักธรรมใดๆ ส่วนประเภทที่ ๓ พิธีกรรมการสู่ขวัญสิ่งของ ของชาวานรนิวาส พบเฉพาะ การสู่ขวัญข้าว การสู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่ การสู่ขวัญเฮือน การสู่ขวัญหลวงพ่อใหญ่ตะเคียนทอง เท่านั้น แต่ไม่พบหลักธรรมใดๆ ในการประกอบพิธีกรรมการบายศรีสู่ขวัญ และยังพบว่ามีการปรับเปลี่ยนวิธีการสู่ขวัญไปตามยุคตามสมัย ไม่ว่าจะเป็นการสู่ขวัญคน การสู่ขวัญสัตว์ การสู่ขวัญสิ่งของ ขึ้นอยู่กับ โอกาส เวลา สถานที่ ความเชื่อ และพิธีกรรม ในการที่จะประกอบพิธีกรรมเหล่านั้นด้วย

                หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในพิธีกรรมการบายศรีสู่ขวัญของชาววานรนิวาส ตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร พบว่ามีปรากฏใน บายศรี๓ ชั้น บายศรี ๕ ชั้น, บายศรี ๗ ชั้น, บายศรี ๙ เท่านั้น ซึ่งชาววานรนิวาส ได้เปรียบเทียบหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ สุจริต ๓ ไตรสิกขา ๓ เบญจศีล ๕ อริยทรัพย์ ๗ พุทธคุณ ๙ เหล่านั้นเป็นต้น อันจะช่วยให้พิธีกรรมการบายศรีสู่ขวัญ เป็นการอนุรักษ์ วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นที่สนใจใคร่ศึกษา และเรียนรู้ของอนุชนรุ่นหลังต่อไป

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕