หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมทบ ถิรปญฺโญ (รุ่งมิตรจรัสแสง)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
ภาวะผู้นำของเยาวชนตามหลักฆราวาสธรรม ๔ : กรณีศึกษาโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์ (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระสมทบ ถิรปญฺโญ (รุ่งมิตรจรัสแสง) ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๑๑/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  พระวันชัย ภทฺทจารี
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

ในการวิจัยเรื่อง “ภาวะผู้นำของเยาวชนตามหลักฆราวาสธรรม ๔ : กรณีศึกษาโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์    มีวัตถุประสงค์ ๑)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของเยาวชนตามหลักฆราวาสธรรม ๔ โรงเรียนหล่มสักวิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์  ๒) เปรียบเทียบภาวะผู้นำของเยาวชนโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  ๓) ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรม ๔ กับภาวะผู้นำของเยาวชนโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม  จังหวัดเพชรบูรณ์ 

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่เยาวชนที่เป็นนักเรียนโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม  อ.หล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๓๔๘ คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ (Check-list) ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .๗๘๗๑และมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือค่าความถี่(Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที(t – test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด(Least Significant Difference : LSD)

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ๓๘๔  คน  พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน ๒๐๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๘  มีอายุระหว่าง ๑๓-๑๕ปี  จำนวน ๑๘๗ คน  คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๗ ๘.๐  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑  ถึง มัธยมศึกษาปีที่ ๖   จำนวนชั้นละ  ๕๘  คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๗  ความสัมพันธ์ด้านการศึกษากับโรงเรียน ต่ำกว่า ๓ ปี  จำนวน ๑๔๓ คน  คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๑  ไม่เคยเข้าอบรมคุณธรรม จำนวน ๑๓๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๙  ครอบครัวมีรายได้ต่อเดือน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ครอบครัวมีรายได้ ๕,๐๐๐ – ๑๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน จำนวน ๑๓๙  คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๙  

๒) เปรียบเทียบภาวะผู้นำของเยาวชนโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=.๘๗ ) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ระดับภาวะผู้นำของเยาวชนตามหลักฆราวาสธรรม ๔ อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน

๓) แนวทางการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรม ๔ กับภาวะผู้นำของเยาวชนโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม  จังหวัดเพชรบูรณ์  พบว่า การนำหลักฆราวาสธรรม ๔(หลักธรรมสำหรับคฤหัสถ์)มาใช้ศึกษา  ภาวะผู้นำเยาวชนของโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม มีความเหมาะสมทำให้นักเรียนมีความรู้เรื่องหลักธรรมที่ดีและรู้ว่าอะไรควรทำ  อะไรไม่ควรทำ และนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน สาเหตุ ปัญหา อุปสรรค  สภาพครอบครัวเกิดความแตกแยกครอบครัวไม่ใส่ใจดูแล ครอบครัวเปลี่ยนบทบาทจากเดิม ความไม่เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของนักเรียนไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง ตัดสินใจไม่ถูกยังขาดความรับผิดชอบ ขาดการเสียสละ  อยากรู้อยากลอง  สื่อโฆษณามีสิ่งยั่วยุให้เกิดการกระทำตามใจตนเอง ตามกระแสสังคม ความสะดวกสบายทำให้เกิดความมักง่ายขาดความอดทน ตัวอย่างไม่ดีในสังคมมีมาก สื่อต่างๆถ่ายทอดตัวอย่างที่ไม่เหมาสม   ข้อเสนอแนะแนวทางวิธีแก้ไข ผู้ปกครองผู้ใหญ่คุณครูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องที่รับผิดชอบต้องรู้จักเสียสละ  เป็นแบบอย่างที่ดีให้รู้จักคิดและทำในสิ่งที่ถูกต้อง สร้างความรักในโรงเรียนชี้แนะและบอกหลักการดำเนินชีวิตให้ถูกต้องดูแลเอาใจใส่ครอบครัวดูแลเอาใจใส่บุตรใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ให้ความรู้ความเข้าใจให้เด็กเยาวชนมีหน้าที่ในครอบครัว.

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕