หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระเทพรัตนสุธี
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๑ ครั้ง
บทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการปกครองของจังหวัดปทุมธานี (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระเทพรัตนสุธี ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๑๑/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ๒) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการปกครองของจังหวัดปทุมธานี และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการแก้ปัญหาในการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการปกครองของจังหวัดปทุมธานี ศึกษาวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ พระสงฆ์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายในจังหวัดปทุมธานี จำนวน ๓๐๐ รูป ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .๙๐๘ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) แบบสอบถามปลายเปิดวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique)

ผลการศึกษาพบว่า

การบริหารกิจการคณะสงฆ์ได้มีมาตังแต่สมัยพุทธกาล หลักที่ใช้ในการบริหารครั้งนั้น คือ พระธรรมวินัย พระพุทธเจ้าทรงปกครองคณะสงฆ์โดยธรรมมาธิปไตย กล่าวคือ ทรงแสดงธรรมและบัญญัติพระวินัย เพื่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์และการพระพุทธศาสนา ปัจจุบันการบริหารกิจการคณะสงฆ์ เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๕ ข้อที่ ๕ ว่าด้วยเรื่อง การ ได้แก่ กิจการที่คณะสงฆ์จะต้องถือเป็นธุระหน้าที่ เพราะเป็นการคณะสงฆ์และการพระศาสนา หรือเพราะเกี่ยวกับการคณะสงฆ์และการพระศาสนา มี ๖ ฝ่าย คือ ๑) การเพื่อความเรียบร้อยดีงาม ๒) การศาสนศึกษา ๓) การศึกษาสงเคราะห์ ๔) การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ๕)การสาธารณูปการ และ ๖) การสาธารณสงเคราะห์

การบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการปกครองของจังหวัดปทุมธานี พบว่าพระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อบทบาทการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการปกครองของจังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๙๑) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละข้อพบว่า พระสงฆ์มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อ

ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการแก้ปัญหาในการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการปกครองของจังหวัดปทุมธานี พบว่า ปัญหาที่สำคัญได้แก่ พระสงฆ์บางรูปไม่เข้าใจพระธรรมวินัยและกฎหมายคณะสงฆ์ และผู้ปกครองขาดการเปิดโอกาสให้พระภิกษุ สามเณร มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย วางกฎระเบียบและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทางการปกครอง แนวทางในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ ควรอบรมพระภิกษุสามเณรให้มีสมณสัญญาและอบรมในเรื่องพระธรรมวินัย จรรยา มารยาทการปฏิบัติอันเกี่ยวกับพิธีหรือแบบอย่างที่ดี และมีการดูแลพระสงฆ์ภายในวัดอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกันและเป็นธรรม รวมทั้งมีการยกย่องและชมเชยพระสงฆ์ที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ กิจวัตรอย่างสม่ำเสมอ

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕