หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาบูรณะ ชาตเมโธ (โพธิ์นอก)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
การศึกษาอิทธิพลของอายตนะ(สื่อ)ที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต (๒๕๔๕)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาบูรณะ ชาตเมโธ (โพธิ์นอก) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ธรรมนิเทศ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาวิเชาว์ ปญฺญาวชิโร
  พระมหาเทียบ สิริญาโณ
  รศ.บำรุง สุขพรรณ์
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลของอายตนะ(สื่อ)ที่มนุษย์บริโภคอยู่ทุกวัน  ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งหลับว่าอายตนะมีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างไร  เพราะการเรียนรู้โลกทั้งหมด  มนุษย์เรียนรู้ได้โดยอาศัยอายตนะเท่านั้น แต่อายตนะนั้นมีขอบเขตจำกัดในการเห็น  การได้ยิน แต่ความต้องการอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด มนุษย์จึงพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยในการดูการฟัง ทำให้สามารถรับรู้เรื่องราวต่าง ๆได้ทั่วโลกในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่เรื่องราวที่รับรู้ย่อมมีทั้งคุณและโทษถ้าไม่รู้จักเลือกรับเลือกพิจารณาที่จะรับรู้  เมื่ออายตนะมีความสำคัญอย่างนี้  มนุษย์รู้จักควบคุมหรือพัฒนาอายตนะให้เกิดประโยชน์อย่างไร  ผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น  ๕  บท  ในแต่ละบทมีรายละเอียดที่จะศึกษา  ดังนี้

          บทที่  ๑   บทนำ  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา    วัตถุประสงค์ของการวิจัย   ปัญหาที่ต้องการทราบ   เอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  วิธีดำเนินการวิจัยหรือขอบเขตการวิจัยและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้จากการวิจัย

          บทที่  ๒   ความหมายของคำว่า    "อายตนะ"   ตามรูปศัพท์  และความหมายที่ประสงค์เอาในงานวิจัยนี้     จำนวนอายตนะที่ปรากฏในคัมภีร์ต่าง ๆ และความสำคัญของอายตนะที่เกี่ยวข้องกับสื่อที่ถูกสร้างขึ้น  ซึ่งมีจำนวนมากและได้รับการพัฒนาไม่มีที่สิ้นสุด  แต่ก็เป็นเพียงปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดการรับรู้อารมณ์ได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น   พร้อมทั้งผลต่าง ๆ คือความสุขและความทุกข์ที่เกิดจากการรับรู้นั้น

          บทที่  ๓  ลักษณะของสื่อทางพระพุทธศาสนาจัดตามหน้าที่ที่ทำ  และจัดตามชนิดของสื่อ   ไม่ก้าวก่ายหรือปะปนกัน     สื่อเหล่านั้นทำหน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์   ทำให้เกิดการรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ บุคคลผู้ที่รับอารมณ์แล้วเสวยผลเป็นสุขหรือทุกข์ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางจิตใจที่ได้รับอบรมมา    ปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีความคิดวินิจฉัยที่ถูกต้อง    เมื่อได้รับอารมณ์คือ ความมีเพื่อนดี   และมีโยนิโสมนสิการ   คุณธรรมทั้ง  ๒  ประการนี้ควรปลูกฝังให้เกิดมีขึ้นในจิตใจ      เพราะเป็นทางเจริญแก่บุคคลโดยส่วนเดียว

          บทที่  ๔  เครื่องมือควบคุมสื่อที่สำคัญคือสติ  แต่สติจะเกิดขึ้นและสมบูรณ์ถึงขั้นใช้เป็นเครื่องมือควบคุมอารมณ์ได้   จะต้องได้รับการฝึกหัดมาก่อน     กระบวนการการฝึกสตินั้น   มีทั้งสมถะและวิปัสสนา  ในกระบวนการทั้ง  ๒  นี้       ต่างก็เป็นปัจจัยของกันและกัน   โดยอาศัยฐานการฝึกอยู่ที่ตัวของผู้ฝึกเอง     นิยมใช้สื่อภายในช่วยในการฝึก   เพราะมีอยู่พร้อมแล้ว   ทั้งรูปและนามคือกายกับใจ  เหตุนั้นเมื่อฝึกแล้วจึงสามารถควบคุมจิตไม่ให้ตกเป็นทาสของอารมณ์ได้    แม้ได้รับอารมณ์ทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ก็ไม่หวั่นไหวไปตาม  สามารถควบคุมอารมณ์ความรู้สึกไว้ได้  และรู้จักพิจารณาสิ่งที่ได้พบเห็นตามความเป็นจริง ไม่ตกเป็นทาสของสิ่งนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าพัฒนาตนเองให้พ้นจากทุกข์ได้      

          บทที่ ๕ สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ  จากการวิจัยทำให้ทราบว่า  อายตนะเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญต่อมนุษย์และสัตว์มา เพราะใช้เป็นสื่อรับรู้อารมณ์ภายนอกได้ทั้งหมด  แต่ในการรับรู้นั้น  ถ้าไม่รู้จักเลือกรับเลือกพิจารณาเสพเสวยก็จักก่อทุกข์ให้แก่ตน  แต่ถ้ามีสติรับรู้ก็จักได้ประโยชน์ตามประสงค์

          จึงเสนอแนะให้มีการส่งเสริมการศึกษาและสอนวิธีฝึกสติตามแนวของมหาสติปัฏฐานสูตรให้มาก  เพราะผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติดีแล้ว  สามารถพัฒนาตนเองให้ไปสู่ความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปได้ 
 

Download : 254306.pdf
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕