วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อการศึกษาทัศนคติที่มีต่อการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในชาดกเรื่องพระมหาชนกไปใช้กับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ของโรงเรียนประทุมวรราชวิทยา ๒) เพื่อการศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติที่มีต่อการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในชาดกเรื่องพระมหาชนกไปปรับใช้กับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ทีมี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกันและ ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะต่อการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในชาดกเรื่องพระมหาชนกไปปรับใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ โรงเรียนประทุมวรราชวิทยา ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง คือผู้เกี่ยวข้องกับนักเรียนโรงเรียนประทุมวรราชวิทยา ตำบลกระโสบอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีผู้บริหาร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการของโรงเรียนประทุมวรราชวิทยา ตำบลกระโสบ อำเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน ๑๐๘ ซึ่งกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgane) โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย มีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี ๒ ประเภท ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือการทศสอบค่าที่ (t-test) และการทศสอบความแปรปรวนแบบทางเดี่ยว (One – Way ANOVA ro F-test)
ผลการวิจัยพบว่า
๑) ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ครู คณะกรรมการมีทัศนคติต่อการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในชาดกเรื่องพระมหาชนกไปใช้กับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ของโรงเรียนประทุมวรราชวิทยา ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมทั้ง ๔ ด้าน อยู่ในระดับมาก แต่เมื่อแยกออกเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าสูงสุดคือ ด้านสัจจะ
๒) ผลของการเปรียบเทียบ พบว่าผู้บริหาร ผู้ปกครอง ครู คณะกรรมการของโรงเรียนประทุมวรราชวิทยาที่มี เพศ อายุ การศึกษา และอาชีพต่างกันมีทัศนคติต่อการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในชาดกเรื่องพระมหาชนกไปปรับใช้กับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ของโรงเรียนประทุมวรราชวิทยา ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีโดยรวมทั้ง ๔ ด้านไม่แตกต่างกัน
๓) ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ครู คณะกรรมการของโรงเรียนประทุมวรราชวิทยาได้เสนอแนะเกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในชาดกเรื่องพระมหาชนกไปปรับใช้กับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ของโรงเรียนประทุมวรราชวิทยา ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สามารถแยกออกเป็นด้าน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ ๑) ด้านวิริยะ คือ ครูควรให้นักเรียนเข้าใจความเพียรก่อนแล้วนำไปปฏิบัติในการศึกษาเล่าเรียน การอ่าน และการจัดกิจกรรม ในโรงเรียน เป็นต้น ๒) ด้านสัจจะ คือ นักเรียนควรเข้าใจและปฏิบัติงานโดยเคารพสัจจริง โดยยกเอาเรื่องพระมหาชนกมาประกอบ ครูควรจัดกิจกรรมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ เป็นต้น ๓) ด้านขันติ คือ ครูต้องสอนให้นักเรียนเข้าใจเรื่องขันติ ความอดทนทางจิตใจ ที่มีต่อความต้องการทั้งหลาย ให้นักเรียน ๔) ด้านเนกขัมมะ คือครูสอนให้นักเรียนเข้าใจ เนกขัมมะ คือ การแสวงหาความสงบที่ทำให้เกิดความสุข โดยวิธีการออกบวชแล้วบำเพ็ญอยู่ในความสงบหรือในป่า ดังพระมหาชนก
Download |