หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปลัด ชวลิต อคฺคปญฺโญ (ภู่นาค)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๘ ครั้ง
การศึกษาพาหุสัจจะในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปลัด ชวลิต อคฺคปญฺโญ (ภู่นาค) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๙/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชสิทธิมุนี (วิ.)
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ, ผศ.ดร.
  ผศ.ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการศึกษาพาหุสัจจะในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทนี้                มีวัตถุประสงค์   ๑) เพื่อศึกษาพาหุสัจจะในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท      ๒)  เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับพาหุสัจจะ  ๓) เพื่อศึกษาการประยุกต์พาหุสัจจะมาพัฒนาชีวิตในสังคมปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่า

                     ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา พาหุสัจจะมีความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า พหูสูต และสุตะ หมายถึง ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ได้ศึกษาเรียนรู้มาก การมีความรู้มีประสบการณ์มาก พาหุสัจจะเป็นมงคลอย่างหนึ่งที่นำความเจริญก้าวหน้ามาให้ผู้เป็นพหูสูต

                     องค์ประกอบของพาหุสัจจะ ๕ ประการ ได้แก่ (๑) เป็นผู้ได้ฟังมาก คือ ศึกษาเล่าเรียนได้สดับตรับฟังไว้มาก (๒) ทรงจำไว้ได้ คือ สามารถจดจำหลักการ หรือสาระได้ ทรงจำได้แม่นยำ   (๓) คล่องปาก คือ ท่องบ่นหรือใช้พูดอยู่เสมอจนแคล่วคล่อง (๔)ขึ้นใจ คือ ใส่ใจพิจารณานึกคิดจนแจ่มแจ้งในใจ และ (๕) แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ คือ ขบได้ด้วยทฤษฎี  มีความเข้าใจลึกซึ้งประจักษ์ด้วยปัญญาทั้งในแง่ความหมายและเหตุผล

                     พาหุสัจจะมี ๒ ประเภท คือ พาหุสัจจะของบรรพชิต และคฤหัสถ์  

                     พาหุสัจจะในพระวินัยปิฎก เป็นมูลแห่งพระพุทธบัญญัติ ๗ สิกขาบท  

                     พาหุสัจจะในพระสุตตันตปิฎก ว่า การพูดเรื่องพาหุสัจจะเป็นเรื่องดีสำหรับผู้เป็นพหูสูต พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า   บุคคลพึงคบมิตรพหูสูต พระมหากัปปินเถระกล่าวคาถาว่า ..บุคคลพึงปรารถนาเป็นนักปราชญ์และเป็นพหูสูตผู้สามารถทำกิจตนให้สำเร็จได้ด้วยปัญญา 

                     พาหุสัจจะในพระอภิธรรมปิฎกว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี ได้แก่ บุคคลผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต             

                     ส่วนพาหุสัจจะในอรรถกถาว่า พาหุสัจจะ เป็นมงคลหนึ่งใน ๓๘ มงคลสูงสุด     

                     มีหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับพาหุสัจจะหรือพหูสูตมี ๒๑ หลักธรรม และยังมีหลักธรรมอีก ๔ หลักธรรม ที่เกื้อหนุนพาหุสัจจะ  รวมเป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับ        พาหุสัจจะทั้งสิ้น ๒๕ หลักธรรม

                     การประยุกต์พาหุสัจจะเพื่อใช้พัฒนาชีวิตในสังคมปัจจุบัน ด้วยการฝึกฝนตนให้เป็นผู้มีความสามารถใน ๒ ด้าน  คือ การศึกษาทางโลก และการศึกษาทางธรรม

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕