หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหากมล ถาวโร (มั่งคำมี)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
สถานภาพสตรีในพระพุทธศาสนา (๒๕๔๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหากมล ถาวโร (มั่งคำมี) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาต่วน สิริธมฺโม
  ดร.บัว พลรัมย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๓
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องสถานภาพของสตรีใน
พระพุทธศาสนา และมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเอาสิทธิของสตรีตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลและในสมัยพุทธกาล เพื่อต้องการศึกษาความเสมอภาคของสตรีในพระพุทธศาสนา

          ความจริงแล้วบุรุษและสตรีต่างกันแต่เพียงเพศเท่านั้น แต่ปัญญาและศักยภาพด้านรู้แจ้งธรรมไม่ต่างกันเลย ดังจะเห็นได้ว่า ในครั้งพุทธกาล ขณะที่บุรุษจำนวนมากออกบวชและบรรลุธรรม สตรีจำนวนมากก็ออกบวชและบรรลุธรรมได้เช่นกัน

          อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อฐานะของผู้สตรีนั้นเห็นได้ชัดโดยการเปรียบเทียบฐานะของสตรีในสมัยก่อนพุทธกาลกับสังคมของชาวพุทธ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้รวบรวมความแตกต่างในท่าทีที่มีต่อสตรีตามที่ปรากฏในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ในตอนแรกได้กล่าวถึงฐานะของสตรีในสมัยก่อนพุทธกาล

          การอนุญาตให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นประวัติศาสตร์ตอนสำคัญของสตรีอินเดียและทั่วโลก เพราะพระพุทธเจ้านับว่าเป็นพระศาสดาพระองค์แรกที่มองเห็นสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคกัน พระพุทธเจ้าทรงยอมรับว่า สตรีก็มีศักยภาพและสติปัญญาเท่าเทียมกับบุรุษในการตรัสรู้ธรรม อาจจะกล่าวได้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิของสตรีคนแรกของโลก

          พระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงสิทธิ หน้าที่ บทบาทและความเสมอภาคของสตรีไว้อย่างไร รวมทั้งมีคำสอนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสตรีทั้งโดยตรงและโดยอ้อม หากศึกษาสำรวจคัมภีร์ทั้งหมดโดยตลอดแล้ว อาจกล่าวได้ว่า โดยการเปรียบเทียบกับข้อความที่สรรเสริญหรือพูดถึงสตรีในแง่บวกมีมากกว่า พระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญในการให้ อิสรภาพทางจิตแก่สตรี และชัดเจนขึ้นเมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับบทบาทของสตรีในสังคมของศาสนาพราหมณ์ ผู้ที่ศึกษาพระพุทธศาสนาจากสภาพสังคมในปัจจุบันมักจะกล่าวโจมตีว่า พระพุทธศาสนากดขี่สตรี ไม่ให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกันกับบุรุษ เช่นการที่ไม่ยอมให้สตรีบวชตั้งแต่ต้น จริง ๆ แล้วสตรีภายใต้พระพุทธศาสนามีอิสระและพร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทางศาสนาได้ทุกอย่าง พระพุทธศาสนาไม่มีข้อยกเว้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงประกาศพระธรรมแก่ประชาชนทั้งบุรุษและสตรี เพราะตระหนักดีว่าความแตกต่างระหว่างสตรีและบุรุษโดยแท้จริงแล้วไม่มีความหมายหรือความสำคัญอะไรเลย เพราะต้องมีความทุกข์ความเดือดร้อนเหมือน ๆ กัน สตรีเพศจึงจัดอยู่ในสถานภาพที่ควรยกย่องเพราะฐานะที่สำคัญของสตรีก็คือ ความเป็นแม่ของลูก.
 

Download : 254301.pdf
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕