งานวิจัยนี้ มีเนื้อหาเพื่อทำการศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมพุทธศาสนาล้านนา เรื่องปิฎกะทังสามฉบับล้านนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ เนื้อหา สาระสำคัญ วิเคราะห์แนวความคิด หลักเกณฑ์ ในการแต่งคัมภีร์ปิฎกะทังสามของนักปราชญ์ชาวล้านนา ตลอดจนถึงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อคติความเชื่อของชาวล้านนาในการสร้างในคัมภีร์ ปิฎกะทังสาม เนื้อหาวิทยานิพนธ์ แบ่งออกเป็น ๕ บท
บทแรกกล่าวถึงความสำคัญและความเป็นมาของของปัญหา
บทที่ ๒ กล่าวถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคัมภีร์พระไตรปิฎก และคัมภีร์ปิฏกะทังสามบทที่๓ กล่าวถึงจุดมุ่งหมาย รูปแบบ เนื้อหา และสาระสำคัญของคัมภีร์ปิฎกทังสาม
บทที่ ๔กล่าวถึง แนวความคิด และอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อคติความเชื่อของชาว ล้านนาในการสร้างคัมภีร์ปิฏกะทังสาม
ส่วนบทสุดท้ายคือการสรุปผลการศึกษาผลการศึกษาพบว่า การแต่งคัมภีร์ปิฏกะทังสามนั้นเพื่อนำเสนอทางการสื่อสารเนื้อหาสาระธรรมซึ่งเป็นหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับบุญกิริยาวัตถุ ๓ประการโดยยึดเอาคัมภีร์พระไตรปิฎกทั้งสามหมวดนำมาเป็นฉบับย่อ แต่งเป็นคำประพันธ์แบบร้อยแก้วปนร่ายวิธีการนำเสนอในคัมภีร์ปิฏกะทังสาม วิธีดำเนินเรื่องเป็นไปตามเค้าโครงของผู้ประพันธ์คือ มีส่วนเกริ่นนำ หรือปณามพจน์ ส่วนนำเรื่อง ส่วนอธิบายขยายความ และส่วนสรุป หรือตอนจบของคัมภีร์ ส่วนอิทธิพลทางพระพุทธศาสนาที่เป็นแรงบันดาลใจหรือเป็นแนวคิดให้สร้างคัมภีร์ปิฏกะทังสามถวายไว้กับวัดนั้นได้แก่ อิทธิพลทางการศึกษา อิทธิพลทางคติความเชื่อเรื่องอานิสงส์การให้ทาน คติความเชื่อเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรม เป็นต้น
Download : 255163.pdf |