หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาวัฒน์พร อภิวฑฺฒโน (บุญมาก)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๔ ครั้ง
การศึกษาเรื่องกตัญญูในวรรณคดีบาลีพระพุทธศาสนา(๒๕๕๐)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาวัฒน์พร อภิวฑฺฒโน (บุญมาก) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(บาลี)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
  ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  นายรังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒ มกราคม ๒๕๕๐
 
บทคัดย่อ

             วิทยานิพนธ์นี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าโดยมีจุดประสงค์เพื่อจะศึกษาหลักคำสอนด้านจริยธรรม เน้นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสำนึกในบุญคุณแล้วทำตอบแทนคุณต่อผู้มีอุปการคุณโดยเฉพาะ ซึ่งปรากฏอยู่ในวรรณคดีบาลีพระพุทธศาสนาเนื้อหาของวิทยานิพนธ์แบ่งออกเป็น ๕ บท บทที่ ๑ บทนำ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหาจนถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย บทที่ ๒ กล่าวถึงความหมายและความสำคัญของความกตัญญูล้วน ๆ บทที่ ๓ กล่าวถึงหลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความกตัญญู บทที่ ๔ กล่าวถึงบทบาทของบุคคลผู้มีความกตัญญูกตเวที
ที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีบาลี และบทที่ ๕ กล่าวสรุปประเด็นและข้อเสนอแนะผลการวิจัยพบว่า ความกตัญญูกตเวทีเป็นวงศ์ของบัณฑิตแต่ปางก่อนทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น พระพุทธองค์ทรงเป็นทั้งผู้ถ่ายทอดคำสอนเรื่องความกตัญญูกตเวที และทรงเป็นทั้งผู้ลงมือปฏิบัติในความกตัญญูกตเวที จึงนับว่า พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างของบรรพชิตและคฤหัสถ์โดยสมบูรณ์แบบ การแสดงออกถึงความ
กตัญญูกตเวที ไม่จำกัดเฉพาะสำหรับคฤหัสถ์เท่านั้น แม้บรรพชิต พระองค์ก็ทรงสนับสนุนให้ภิกษุยึดมั่นในความกตัญญูกตเวทีเช่นกันจุดเด่นของผู้มีความกตัญญูก็คือ จิตใจซื่อตรง ไม่ลืมบุญคุณคนอื่น แม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นอุปการคุณนั้น เทิดทูนบูชาผู้มีพระคุณ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง จึงเป็นเหตุให้คนที่มีความกตัญญูได้รับประโยชน์ที่สมควรแก่ความดีนี้ทั้งในปัจจุบันชาติและในสัมปรายภพ เมื่อถึงยามคับขันเข้า มักจะแคล้วคลาดจากภัยอันตรายได้ด้วยอำนาจแห่งความกตัญญู ตรงกันข้าม คนอกตัญญูที่ไม่รู้อุปการคุณของผู้มีคุณ
ซึ่งเป็นคนที่ไม่น่าไว้ใจที่สุดในโลก มักจะประสบความหายนะแก่ชีวิตไม่ช้าก็เร็ว เมื่อถึงยามคับขันก็ไม่อาจรอดพ้นจากภัยอันตรายได้เพราะความอกตัญญูเป็นเหตุ อนึ่ง การที่ไม่รับรู้บุญคุณผู้มีคุณนับว่าเป็นความต่ำทรามของจิตใจอยู่แล้ว แม้หากยังกลับเนรคุณทำร้ายผู้มีคุณอีก ก็เท่ากับเพิ่มโทษมหันต์ให้ตนเองโดยสิ้นเชิง ซ้ำยังมีวิบากทุกข์คือทุคติภูมิในเบื้องหน้า

 


Download :  255005.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕