หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระธิติวุฒิ จนฺทโสภโณ (หมั่นมี)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาอัตวินิบาตกรรม-ตามแนวพุทธจริยศาสตร์ ( ๒๕๔๙ )
ชื่อผู้วิจัย : พระธิติวุฒิ จนฺทโสภโณ (หมั่นมี) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ
  ผศ. บุญมี แท่นแก้ว
  ผศ. สุนัย ครองยุทธ
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
 
บทคัดย่อ

             การศึกษาเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาอัตวินิบาตกรรมตามแนว
พุทธจริยศาสตร์” มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ คือ เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาอัตวินิบาตกรรม
ตามทรรศนะของพุทธจริยศาสตร์ โดยเน้น สาเหตุ และวิธีการป้องกันแก้ไขตามแนวพุทธจริย
ศาสตร์ โดยการศึกษาค้นคว้าในคัมภีร์พระไตรปิฏก อรรภกถา ฏีกา และคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
เรื่องนี้รวมถึงศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวกับอัตวินิบาตกรรมในเชิงวิชาการด้านอื่น ผลการศึกษาพบคำตอบ
ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างน่าสนใจ ดังต่อไปนี้ การศึกษาเกี่ยวกับความหมายและทฤษฎีของอัตวินิบาตกรรมพบว่า อัตวินิบาตกรรมนั้นหมายถึง การที่บุคคลใด บุคคลหนึ่ง “จงใจ” ทำร้ายตัวเองด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง และวิธีการนั้นได้ส่งผลให้เขาตายตามที่ตัวเองต้องการ
               จากการศึกษาพุทธจริยศาสตร์เรื่องอัตวินิบาตกรรมพบว่ามีสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
สาเหตุจากครอบครัว พุทธจริยศาสตร์ได้วางหลักให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวทำหน้าที่ของตนให้
สมบูรณ์ กล่าวคือ สามี มีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของครอบครัวให้ความอบอุ่นแก่สมาชิก และสร้าง
ความมั่นคงในครอบครัว ภรรยา มีหน้าที่บริหารทรัพย์ที่สามีหามาได้ใจกิจการที่สมควรและเป็น
ใหญ่ในการดูแลบ้าน ส่วนลูกก็ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของบิดามารดาและมีความประพฤติที่
ดี เป็นต้น สาเหตุจากสภาพเศรษฐกิจ ต้องรู้จักพอใจในสิ่งที่ตนมี ไม่พยายามขวนขวายในสิ่งที่ตนไม่
สามารถหามาได้จนมากเกินไป สาเหตุจากสภาพร่างกาย มีการป้องกันแก้ไขหลายวิธี กล่าวคือ กรณี
ร่างกายเกิดเจ็บป่วยมีการรักษาโดยการใช้ยา แต่บางครั้งจำเป็นต้องรักษาโดยการใช้สมาธิบำบัด
เช่น พระมหากัสสปะอาพาธ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้ฟัง จึงหายจากการอาพาธนั้นได้ ส่วนสาเหตุจากสภาพจิตใจ ต้องปรับสภาพจิตใจให้เข้าใจความเป็นไปของชีวิตและโลกว่า ทุกสิ่งต้อง
เป็นเช่นนั้น กล่าวคือ พยายามพิจารณาให้เห็นถึงกฏไตรลักษณ์ คือ ทุกสรรพสิ่งที่เกิดมาต้องตก
ภายใต้ความจริง ๓ ประการคือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และการไม่สามารถบังคับสิ่งเหล่านั้น
ให้อยู่ในอำนาจของตนได้ เมื่อพิจารณาได้เช่นนี้แล้วก็จะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดจากสภาพจิตใจได้
จากการศึกษาทฤษฏีที่เกี่ยวกับการทำอัตวินิบาตกรรม พบว่า มี ๔ ทฤษฏี ได้แก่ ทฤษฏี
ทางสังคม เห็นว่า การที่บุคคลมีข้อกำหนดทางสังคมมากเกินไปหรือน้อยเกินไปจะนำไปสู่ความ
กดดันและทำให้หาทางออกโดยการทำอัตวินิบาตกรรมในที่สุด ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ คิดว่า ผู้ทำ
อัตวินิบาตกรรมมีความก้าวร้าวภายในจิตใจ และมักเป็นคนที่มีการสูญเสียบุคคลที่ตนรักมากจึงทำ
ให้ตัดสินใจทำอัตวินิบาตกรรม ทฤษฏีเมินนิงเจอร์ อธิบายว่า การทำอัตวินิบาตกรรมมีสาเหตุมาจาก
แรงกระตุ้น ๓ ประการ กล่าวคือ แรงกระตุ้นที่มีความต้องการฆ่า แรงกระตุ้นที่มีความต้องการถูก
ฆ่า และแรงกระตุ้นที่มีความต้องการตาย ทั้งสามเป็นแรงกระตุ้นหลักที่ทำให้คนทำอัตวินิบาตกรรม
และทฤษฎีจิตพลวัต คิดว่าการสูญเสียคนรัก สูญเสียสถานะทางสังคมหรือสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง
อย่างกะทันหัน เป็นเหตุให้ทำอัตวินิบาตกรรมได้เช่นกัน
นักปรัชญามีทรรศนะเกี่ยวกับอัตวินิบาตกรรม แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่คัดค้านการ
ทำอัตวินิบาตกรรมทุกกรณี กลุ่มนี้โดยภาพรวมแล้วเป็นกลุ่มของศาสนา และกลุ่มของนักปรัชญา
ศาสนา ซึ่งมีความพยายามที่จะชี้ให้เห็นว่า การทำอัตวินิบาตกรรมนั้น เป็นการทำผิดต่อพระเจ้า ผิด
ต่อสังคม และผิดต่อตนเอง
กลุ่มที่ ๒ เห็นว่า การทำอัตวินิบาตกรรม เป็นสิทธิที่ทุกคนสามารถทำได้หากไม่พอใจ
ในร่างกายและความเป็นอยู่ของตนการเลือกนั้นมิได้เป็นการผิดต่อตนเอง ผิดต่อสังคม และผิดต่อ
พระเจ้าแต่ประการใด

 

Download :  254979.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕