วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปริวรรตและตรวจชำระคัมภีร์กัจจายนสุตตนิเทสกัณฑ์ที่ ๑ – ๒ (สนธิ-นาม) เพื่อศึกษาในด้านเนื้อหา วิธีการนำเสนอสาระทางไวยากรณ์ ตลอดถึงวิธีจาร ลงในใบลาน เป็นคัมภีร์อธิบายสูตรของคัมภีร์กัจจายนะ อนึ่ง คัมภีร์กัจจายนสุตตนิเทสนี้ แต่งขึ้นที่ประเทศพม่า โดยพระสัทธัมมโชติปาลเถระ ประมาณศตวรรษที่ ๒๐ ในการตรวจชำระได้ใช้ต้นฉบับเทพชุมนุม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซึ่งจารขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งจารได้สมบูรณ์กว่าทุกฉบับมาเป้นต้นฉบับ แล้วนำฉบับอื่นที่หาได้และมีความสมบูรณ์พอที่จะนำมาตรวจชำระ ที่มีอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ ๔ ฉบับ คือ ฉบับชาดทึบ-ล่องชาด, ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา, ฉบบัล่องชาด ไม้ประกับทาชาด และฉบับล่องชาด ไม้ประกับลายกำมะลอ พร้อมกันนั้นก็ได้นำฉบับอักษรพม่าและอักษรสีหลมาตรวจสอบเทียบเคียงอีก ๒ ฉบับ รวมเป็น ๗ ฉบับ ในด้านเนื้อหาคัมภีร์กัจจายนสุตตนิเทส (สนธิ-นาม) แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๕ บท คือ
บทที่ ๑ ว่าด้วยบทนำ พรรณนาถึงความเป็นมา ความสำคัญของปัญหา วิธีดำเนินการวิจัย และการตรวจสอบชำระคัมภีร์
บทที่ ๒ ว่าด้วยการศึกษาวิเคราะห์กัจจายนสุตตนิเทส (สนธิและนาม) ในด้านต่างๆ คือ ความหมาย ประวัติผู้แต่ง สมัยที่แต่ง รวมทั้งเนื้อหาของคัมภีร์กัจจายนสุตตนิเทส เฉพาะสนธิและนาม ต้นฉบับตัวเขียนที่ใช้ในการวิจัยตรวจสอบชำระ วิวัฒนาการความเป้นมาของการจารและคัดลอก ข้อผิดพลาดในการจารแต่ละฉบับ
บทที่ ๓ ว่าด้วยกัจจายนสุตตนิเทส (สนธิและนาม) ที่ปริวรรตชำระตรวจสอบแล้ว
Download : 255006.pdf
|