วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาหลักการแนวคิดการจัดการความขัดแย้งโดยหลักพุทธสันติวิธี (๒) เพื่อศึกษาการจัดการความขัดแย้งของสามเณรตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การจัดการความขัดแย้งของสามเณรตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเน้นการศึกษาจากเอกสาร Documents Research (DR) เป็นหลักโดยการค้นคว้าจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา รวมทั้งหนังสือ เอกสาร และตำราวิชาการทั่วไป โดยศึกษาวิเคราะห์บทบาทการจัดการความขัดแย้งของสามเณรตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทตามหลักพุทธสันติวิถี โดยผลการศึกษาพบว่า
๑) การจัดการความขัดแย้งโดยหลักพุทธสันติวิธีนั้น คือ หลักปาฏิหาริย์ ๓ อธิกรณสมถะ และอริยสัจ ๔ ได้แก่ (๑) ปัญหาความขัดแย้ง (๒) สาเหตุความขัดแย้ง (๓) การจัดการความขัดแย้ง (๔) แนวทางในการจัดการความขัดแย้ง
๒) การจัดการความขัดแย้งของสามเณรตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา พบว่า สามเณรได้นำกระบวนการตามหลักพุทธสันติวิธีมาใช้ในการจัดการความขัดแย้งคือ ๑) สติ ขันติ สันติ ๒) อหิงสกวิธี ๓) วาจาสุภาษิต ๔) อิทธิบาท ๕) ปมาณิกธรรม ๖) อิทธิวิธี
๓) การศึกษาวิเคราะห์การจัดการความขัดแย้งของสามเณรตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาททำให้ได้องค์ความรู้ใหม่ จากการศึกษาวิเคราะห์ถอดบทเรียนองค์ความรู้ใหม่ในการจัดการความขัดแย้งของสามเณรตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนานี้ องค์ความรู้นี้เรียกว่า ไตรวิทยา ได้แก่ ๑) ทัศนวิทยา คือ ความฉลาดรอบรู้ ๒) จิตวิทยา คือ ความเข้าใจรู้จริง ๓) ญาณวิทยา คือ ความชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยปัญญา ด้วยสามเณรมีคุณสมบัติอย่างนี้แล้ว จึงทำให้สามเณรทุกรูปที่ทำหน้าที่จัดการความขัดแย้งมีผลปรากฏออกมาสู่สาธารณชน คือ สามารถจัดการเพื่อยุติความขัดแย้งระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาได้สำเร็จเสร็จสิ้นทุกคดีอันนำซึ่งความดีงามความเจริญมั่นคงมาสู่บวรพระพุทธศาสนาตามที่ปรากฏมาดังนี้
Download |