วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุความขัดแย้งระหว่างอาสาสมัครกู้ภัย ๒) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการจัดการความขัดแย้งตามหลัก
พุทธสันติวิธี ๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการความขัดแย้งตามหลักพุทธสันติวิธี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยศึกษาเอกสารและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๙ คนประกอบกับการสังเกตการณ์โดย มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า
ความขัดแย้งระหว่างหน่วยอาสาสมัครกู้ภัยแบ่งตามสาเหตุออกเป็น ๕ ประเภท คือ ด้านข้อมูล ผลประโยชน์ ความสัมพันธ์ โครงสร้าง และความขัดแย้งด้านคุณค่าหรือค่านิยม แต่ในพระพุทธศาสนามองว่าสาเหตุความขัดแย้งมากจากตัณหา มานะ และทิฏฐิ แนวทางแก้ไขความขัดแย้งตามหลักวิชาการที่ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมปัจจุบัน คือ ความเสียสละอย่างจริงใจ ความมีจิตอาสา ซึ่งก็มีลักษณะที่สอดคล้องกับหลักสาราณียธรรม คือ เมตตากายกรรมเมตตาวจีกรรมเมตตามโนกรรมสาธารณโภคี สีลสามัญญตา และ ทิฏฐิสามัญญ
ผลจากการประยุกต์หลักสาราณียธรรมเพื่อการจัดการความขัดแย้งของอาสาสมัครกู้ภัย พบว่า อาสาสมัครและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ต่างมองเห็นคุณค่าและความจำเป็น โดยทุกฝ่ายได้ร่วมกันเสนอแนวทางปฏิบัติ เช่น การมีท่าทีในการแสดงออกที่แสดงด้วยความเคารพกัน ต้องทำงานด้วยท่าทีที่เป็นมิตรต่อกัน ควรพูดจาด้วยความอ่อนโยน สุภาพเรียบร้อย ต้องช่วยเหลือประชาชนด้วยความเสียสละจากใจจริงเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด มีกฎกติการ่วมกันในการทำงาน และจัดสรรแบ่งกันในเรื่องที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่ายรวมถึงแบ่งผู้ป่วย โดยเห็นแก่ประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก เมื่อดำเนินการตามหลักสาราณียธรรมเช่นนี้ ย่อมเป็นช่องทาง ที่จะนำสันติสุขมาสู่สังคมอย่างแน่นอน
Download |