หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ปัญจรีย์ จุลไกรอานิสงส์
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
การประยุกต์ใช้สติเพื่อพัฒนาการทำงานอย่างมีสันติสุข ของแรงงานฝ่ายผลิต: ศึกษากรณี ห้างหุ้นส่วนจำกัด คอนติเนนตัลนิตติ้ง (สาขาวิชาสันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : ปัญจรีย์ จุลไกรอานิสงส์ ข้อมูลวันที่ : ๐๓/๑๒/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
  พูนสุข มาศรังสรรค์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑)เพื่อศึกษาปัญหาการทำงานที่ส่งผลต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตของแรงงานในห้างหุ้นส่วนจำกัด คอนติเนนตัลนิตติ้ง (๒) เพื่อศึกษาหลักสติในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๓) เพื่อประยุกต์ใช้หลักสติในการพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขของแรงงานฝ่ายผลิต ห้างหุ้นส่วนจำกัด คอนติเนนตัลนิตติ้ง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบภาคสนาม ผลการศึกษาพบว่า

          ๑) สภาพปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของแรงงานฝ่ายผลิต   ห้างหุ้นส่วนจำกัด คอนติเนนตัลนิตติ้ง คือ แรงงานฝ่ายผลิตยังขาดซึ่งการจดจ่อในงานที่รับผิดชอบอันเนื่องมาจากการขาดสมาธิและสติในขณะทำงาน ขาดความสนใจในการทำงานอย่างจริงจัง  ขาดการตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและข้อผิดพลาดในการควบคุมการผลิตว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรกับองค์กร  มีปัญหาเรื่องการทำงานแบบส่งทอดต่องานในแต่ละกะ ทำให้ผู้เข้ากะใหม่ไม่ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานก่อนหน้านี้ 

             ๒)  สติในพระพุทธศาสนา คือ ความระลึกได้ ความเอาใจใส่ความจำได้ความไม่เลื่อนลอยไม่เผลอไม่ประมาทกระทำทุกอย่างด้วยความระมัดระวังตัวรับผิดชอบไม่ปล่อยปละละเลยมี ความตื่นตัวในขณะทำงาน พร้อมทั้งรู้ว่า สิ่งที่ทำนั้นดีหรือไม่ดี มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ ควรหรือไม่ควร  รู้จักคิดไตร่ตรองด้วยความรอบคอบถี่ถ้วน ไม่ทำผิดพลาดให้เกิดความเสียหาย อีกนัยยะหนึ่ง นั้นการมีสติระลึกได้ คือ ความไม่ประมาทนั้นเอง

          ๓) ประยุกต์ใช้หลักสติในการพัฒนาการทำงานของแรงงานฝ่ายผลิต ด้วยการฝึกอบรมโดยกิจกรรม “โครงการสวดมนต์ปฏิบัติธรรมร่วมกัน” พบว่า พนักงานมีใจเย็นขึ้น มีอารมณ์สุขุม ไม่วู่วาม สามารถควบคุมตนเองได้  อดทนได้นานขึ้น มีความคิดเป็นเหตุเป็นผล พูดจาสื่อสารกันอย่างระมัดระวัง  มีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันมากขึ้น มีความรอบคอบ  ไม่เข้าใจผิด  ไม่หลงลืม ไม่เผลอตัว มีสภาวะแห่งความตื่นและความรู้สึกตัวควบคุมอารมณ์ได้ง่าย  ผลปรากฏ คือ ผลการผลิตที่ดีขึ้นในแง่ของความปลอดภัย การสูญเสียผลิตภัณฑ์อันเกิดจากความผิดพลาดของผู้ควบคุมเครื่องจักรมีอัตราส่วนลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ประสิทธิภาพในการทำงานมีคุณภาพมากขึ้น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕