วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ๑) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ปฎิบัติธรรมวัดคู้บอน๒) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้สติในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ปฎิบัติธรรมวัดคู้บอนเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบภาคสนาม (Qualitative field Research) โดยการศึกษาเอกสาร,การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) จำนวนรวม ๙ ท่าน ประกอบกับการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า
๑. ผู้ปฏิบัติธรรมวัดคู้บอน ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนบริเวณรอบวัด ซึ่งทางวัดจะจัดให้มีการอบรมวิปัสสนากรรมฐานทุกเดือน ในช่วงเข้าพรรษาผู้ปฏิบัติธรรมจะมาพักที่วัดเพื่อถือศีลอุโบสถ ผู้ปฎิบัติธรรมที่มาปฏิบัติธรรมที่วัดเป็นประจำส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และเป็นผู้หญิง มีการรักษาศีล ๕ และศรัทธาในพระรัตนตรัยซึ่งก็สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับสติในพุทธศาสนา สติ คือความระลึกได้ถึงความผิด ชอบ ชั่ว ดี เป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้คิดพูดทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทำให้ไม่ลืมตัว ไม่เผลอตัวใช้ปัญญาพิจารณา สติเป็นหลักปฏิบัติสำคัญที่เป็นส่วนเกื้อหนุนอยู่ในหลักธรรมสำคัญทางพุทธศาสนา ได้แก่ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ สติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น
๒.การประยุกต์ใช้หลักสติในการดำเนินชีวิตของผู้ปฏิบัติธรรมวัดคู้บอน ด้วย ๑) การส่งเสริมพัฒนาจากศูนย์ปฏิบัติธรรม (Meditation Center) เป็นการปรับอินทรีย์ในห้องปฏิบัติการเสริมสร้างศรัทธาให้มั่นคง, สร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติที่มุ่งมั่น และหมั่นสร้างบ้านเพื่อพัฒนาชาติ
๒) การนำไปฝึกฝนในชีวิตประจำวัน (Daily Life Mindfulness Practice)คือ การฝึกสติในวิถีชีวิตโดยการบ่มเพาะสติด้วยการสวดมนต์,จัดเวลาปฏิบัติระหว่างช่วงวัน, สร้างบรรยากาศยกวัดมาบ้าน และปรับวิถีแห่งการไม่เบียดเบียน เรียกโมเดลนี้ว่า M-SEC D-ISAM Model
Download |