จากการศึกษาวิจัยเรื่อง“ศีลและทิฏฐิในฐานะเป็นเหตุให้เกิดความสามัคคีและแตกความสามัคคี”ตามขั้นตอนที่วางไว้ในวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาความสำคัญของศีลและทิฏฐิในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาเรื่องความสามัคคีและการแตกความสามัคคีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ๓) เพื่อศึกษาศีลและทิฏฐิในฐานะเป็นเหตุให้เกิดความสามัคคีและแตกความสามัคคี ผลการวิจัยพบว่า
จาการศึกษาความสำคัญของศีลและทิฏฐิในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทพบว่าศีลมีกำเนิดจาการปกครองของพระเจ้าจักรพรรดิ หมายถึงมูลรากพฤติกรรมที่ถูกควบคุมอย่างดีจนเป็นปกติ เพราะศีลมีลักษณะคือ ควบคุมกาย วาจา ให้เรียบร้อย ศีลมี ๒ ประเภทคือ ศีลของบรรพชิต และศีลของฆราวาส ศีลมีองค์ประกอบแต่ละข้อเป็นการเฉพาะตามเงือนไขของพฤติกรรมการละเมิด ศีลมีอานิสงส์หลายประการ ทิฏฐิหมายถึงความเห็น มี๒ ประการคือ สัมมาทิฏฐิและมิจฉาทิฏฐิ
จากศึกษาความสามัคคีและการแตกความสามัคคีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่าความสามัคคีหมายถึง ความร่วมมือไปด้วยกัน โดยมีศีลและทิฏฐิที่เสมอกันเป็นหลัก มีหลักธรรมที่ก่อให้เกิดความสามัคคี ได้แก่หลักสาราณียธรรม หลักอปริหานิยธรรม และหลักสังคหวัตถุ ๔ คำที่ตรงกันข้ามกับความสามัคคีคือการแตกความสามัคคี สังฆราชี และสังฆเภท วิธีระงับการแตกความสามัคคีต้องอาศัยอธิกรณะสมถเป็นต้น
ศีลที่เป็นต้นเหตุให้เกิดความสามัคคีได้แก่ศีลสามัญญตา และทิฏฐิที่ก่อให้เกิดความสามัคคีได้แก่ ทิฏฐิสามัญญตา ผลดีของการสร้างความสามัคคี คือทำให้เกิดความสุข ความรักและนับถือ ส่วนผลกระทบจากการแตกความสามัคคี มีผลเสียทั้งแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์
Download |