การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อรูปแบบภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารเทศบาลตำบลกุดจิกอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ๒) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อรูปแบบภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารเทศบาลตำบลกุดจิกอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของประชาชนที่มีต่อรูปแบบภาวะของผู้นำตามหลักพุทธธรรม ของผู้บริหารในเขตเทศบาลตำบลกุดจิกอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยการสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๘๓ คน ซึ่งเป็นประชาชนในตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบประมาณค่า ๕ ระดับ ที่ระดับความชื่อมั่นที่ ๐.๘๑๒ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐาน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไปเมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน ๙ ท่าน เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการศึกษาพบว่า :
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลกุดจิกอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลกุดจิกอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของประชาชนที่มีต่อรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลกุดจิกอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนพื้นที่ของเทศบาลตำบลบ้านโพธิ์ทั้ง ๔ ชุมชน จำนวน ๓๘๓ คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด ๙,๐๓๒ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติดังนี้ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนแบ่งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบค่าที (t-test) ทดสอบค่าเอฟ (F-teat) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๕๔) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านจักขุมา ( = ๓.๔๔) ด้านวิธูโร ( = ๓.๖๒) และด้านนิสยสัมปันโน ( = ๓.๖๐)
๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้พบว่า ประชาชนที่มี ระดับการศึกษาและรายได้ ต่างกัน เพศ อายุ อาชีพ ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มี ระดับการศึกษาและรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๓) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ผู้บริหารควรมีความเมตตาและกรุณาต่อลูกน้องด้วยการใส่ใจในการดูแลประชาชนในองค์กรเสมือนหนึ่งสมาชิกในครอบครัว ให้เจ้าหน้าที่หรือประชาชนมีความสุขกับการทำงาน และทำงานอย่างเต็มความสามารถ อยากให้มีความยุติธรรมในการพิจารณาความดีความชอบให้แก่ประชาชน และเจ้าหน้าที่ควรมีความกรุณาต่อประชาชนและสนับสนุนให้สมาชิกและประชาชนในองค์กรได้ศึกษาดูงาน อบรม สัมมนาเพื่อนำความรู้มาปรับปรุงท้องถิ่นให้ดียิ่งขึ้นไปและเตรียมความพร้อมในการบริการประชาชน ไม่ควรเลือกปฏิบัติในการให้บริการประชาชนที่มาขอรับบริการ ผู้บริหารเทศบาลควรให้ความสำคัญในการให้บริการประชาชนด้วยความเต็มใจ
Download
|