หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » รณกร ไข่นาค
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ตามหลักพุทธบริหารการศึกษา ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : รณกร ไข่นาค ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ประยูร แสงใส
  พระครูกิตติญาณวิสิฐ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาสภาพความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒)  เพื่อศึกษาหลักและวิธีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและหลักพุทธบริหารที่ส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ตามหลักพุทธบริหารการศึกษา ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน ๓๖๘ คือ ครูและผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระเบียบวิธีเชิงปริมาณ โดยวิธีการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๔ หลักวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสรุปข้อมูลจากข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา

             ผลการวิจัย พบว่า 

             ๑) สภาพความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกรายด้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและภาคีเครือข่าย ด้านการให้บริการชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ด้านการได้รับการสนับสนุนจากชุมชน และด้านการประเมินผลการดำเนินงานชุมชนและภาคีเครือข่าย

             ๒) ศึกษาหลักการและวิธีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและหลักพุทธบริหารที่ส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและภาคีเครือข่าย  ด้านการให้บริการชุมชน  ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ด้านการได้รับการสนับสนุนจากชุมชน และ ด้านการประเมินผลการดำเนินงานชุมชนและภาคีเครือข่าย

              ๓) แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีดังนี้ ด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและภาคีเครือข่าย คือ โรงเรียนมีการประชุมผู้ปกครองนักเรียนเพื่อชี้แจงนโยบายและการดำเนินงานของโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาเข้าร่วมประชุมกับโรงเรียนเพื่อวางแผน และพัฒนาการจัดการศึกษาและมีการประชุม ปรึกษาหารือเกี่ยวกับนโยบายการดำเนินงานจัดการศึกษาของโรงเรียนร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษาโดยยึดถืออุดมคติอันเดียวกัน ด้านการให้บริการชุมชน คือ  โรงเรียนให้บริการและอำนวยความสะดวกโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติในการใช้อาคารสถานที่ หอประชุม สนามกีฬาในการจัดกิจกรรมต่าง ๆของชุมชน จัดกิจกรรมต่าง ๆเพื่อเป็นการส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่นและจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมอาชีพและหารายได้เพิ่มเติมแก่นักเรียน ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน คือ ครูเข้าร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ในการจัดอบรมสัมมนาต่าง ๆ ของชุมชน มีกิจกรรมรณรงค์เรื่องต่าง ๆ ร่วมกับชุมชน และครูนำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมแสดงความสามารถ เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในชุมชน ด้านการได้รับการสนับสนุนจากชุมชน คือ ผู้นำชุมชนหรือผู้มีชื่อเสียงในชุมชนเข้าร่วมงานกิจกรรมของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ มีวิทยากรในชุมชนเข้ามาให้ความรู้แก่นักเรียน และมีกลุ่มชมรม มูลนิธิและสมาคมต่าง ๆให้ความช่วยเหลือในการมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนในโรงเรียน  ด้านการประเมินผลการดำเนินงานชุมชนและภาคีเครือข่าย คือ โรงเรียนได้มีการประเมินผลการดำเนินงานชุมชนโดยมีการรายงานผลการเรียน ความประพฤติและสุขภาพของนักเรียนให้ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนได้รับทราบ มีการนำผลการวิเคราะห์ประเมินผลไปปรับปรุงการดำเนินงาน การสร้างความสัมพันธ์ชุมชนและคณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนมีส่วนร่วมในการประเมินผล ติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียน

 

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕