หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นพวรรณ ทองย้อย
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
รูปแบบการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการรักษาศีล 5 สำหรับสถานศึกษาระดับประถมศึกษา (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : นพวรรณ ทองย้อย ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิน งามประโคน
  บุญเชิด ชำนิศาสตร์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมในการส่งเสริม       การรักษาศีล ๕ ของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา ๒) เพื่อศึกษาหลักการ วิธีการพัฒนา กระบวนการ   มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ และ ๓) เพื่อเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ สำหรับสถานศึกษาระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี    โดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๒๐๕ คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ    จำนวน ๕ รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

สรุปผลการวิจัยพบว่า

๑. สภาพการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ ของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา ในภาพรวม พบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้งหมด ได้แก่ กระบวนการมีส่วนร่วมในขั้นเตรียมการ (ร่วมคิด) กระบวนการ มีส่วนร่วมในขั้นดำเนินการ (ร่วมทำ) และกระบวนการการมีส่วนร่วมในการติดตาม ประเมินผลและเผยแพร่ผลการดำเนินงาน (ร่วมรับผิดชอบ)

๒. หลักการ วิธีการพัฒนา กระบวนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ ประกอบด้วย ๑) ระบบบริหารแบบมีส่วนร่วมที่มีผลในเชิงปฏิบัติ ผู้บริหารและครูมีส่วนร่วมในการจัดให้มีห้องจริยธรรมสำหรับการพัฒนาจิตเจริญปัญญาของนักเรียนในสถานศึกษา ๒) ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับกระบวนการส่งเสริมการรักษาศีล ๕และมีการจัดกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา ๓) การรักษาศีล ๕ เป็นการปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ    ขั้นพื้นฐานและเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธควรประพฤติ ตามรูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการรักษาศีล ๕

๓. รูปแบบการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ สำหรับสถานศึกษาระดับประถมศึกษา ๑) หลักการและวิธีการที่ผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษา พระสงฆ์ ผู้ปกครอง       ได้เข้าการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ ๒) หลักปฏิบัติขั้นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับ           ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธควรประพฤติ และวิธีการนำไปใช้ ๓) กระบวนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการรักษาศีล ๕

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕