การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต ๒) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาและวิธรการปฏิบัติตามหลักอริยสัจ ๔ และ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามอริยสัจ ๔ ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๒ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูในสังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๒ จำนวน ๓๐๒ คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๓ คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
๑. สภาพการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๒ โดยภาพรวมทั้ง ๔ ด้าน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาสภาพที่มีปัญหาได้แก่ ด้านการวางแผนการสอน ๑) มีเทคนิคและวิธีการสอนที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ๑) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ด้านการผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอน ๑) ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ ด้านการวัดและประเมินผล ๑) มีการประเมินคุณภาพ ทักษะ ความรู้ ความเข้าใจของนักเรียนแต่ละบุคคลเพื่อนำไปพัฒนาการเรียนการสอน
๒. แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามหลักอริยสัจ ๔ ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๒ ๑) ด้านการวางแผนการสอน ได้แก่ ผู้บริหาร ครู บุคลากรในสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษา ประชุมร่วมกันเพื่อจัดทำ
แผนการสอนแบบมีส่วนร่วม “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน ๒) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้บริหาร ให้ครูและนักเรียนถอดบทเรียนแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ๓) ด้านการผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้บริหาร ส่งเสริมให้ครูและนักเรียนร่วมกันผลิตสื่อการเรียนการสอนจากบทเรียน ๔) ด้านการวัดและประเมินผล ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรในสถานศึกษา ทำแบบประเมินตามตัวชี้วัด มีการประเมินเป็นรายบุคคล ประเมินผล ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรในสถานศึกษา ทำแบบประเมินตามตัวชี้วัด มีการประเมินเป็นรายบุคคล
Download |