การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการเรียนการสอนของบัณฑิตศึกษานานาชาติ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2)เพื่อเปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษานานาชาติตามมาตรฐานการศึกษา 3.เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนบัณฑิตศึกษานานาชาติ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชาวต่างชาติที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ของคณะพุทธศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำนวน ๖๐ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ โดยการทดสอบสมติฐานหาค่า (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่ (Least Significant Different: LSD.)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษานานาชาติ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านของการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษานานาชาติ อยู่ในระดับดีมากทุกด้าน คือ การวัดและประเมินผล การใช้สื่อการเรียนการสอน กิจกรรมส่งเสริมการเรียน หลักสูตรสาระการเรียนและการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษานิสิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามสถานภาพสวนบุคคล โดยภาพรวม พบว่า มีความคิดเห็นของนิสิตไม่แตกต่างกัน
3. แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนนิสิตชาวต่างชาติในมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน คณาจารย์ควรใช้วิธีหลากหลายเพื่อให้นิสิตสนใจในการเรียนมากขึ้น ด้านหลักสูตรสาระการเรียนรู้ ต้องจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ด้าน กิจกรรมส่งเสริมการเรียน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความสามัคคี ระหว่างเพื่อนกับเพื่อน และหลักสูตรต่างๆด้วยกัน ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน ทุกห้องเรียนควรจะมีพร้อมด้านสื่อต่างๆสำหรับใช้การเรียนการสอนให้เพียงพอต่อความต้องการแต่ละวิชา ด้านวัดผลและประเมินผลควรวิธีหลากหลายแนวทางเพื่อช่วยพัฒนาการเรียนการสอนของนิสิตให้ดีขึ้น
Download
|