งานวิจัยฉบับนี้ มีจุดประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูต ในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒) เพื่อเปรียบเทียบการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของพระธรรมทูต ในอำเภอ บางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูต ในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการวิจัยครั้งมีเป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณ ด้ายการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๓๘๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ ๐.๘๕๔ วิเคราะห์ผลการวิจัยโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทอดสอบค่าที่ (t – test) ในกรณีตัวแปรต้นมี ๒ กลุ่ม และการทดค่าเอฟ (f-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่ ๓ กลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD.) และการวิจัยเชิงปริมาณเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๐ รูป/คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือและวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ประชาชนทั่วไปมีความคิดเห็นต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูต
ในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =๔.๔๐,
S.D. = ๐.๔๘๕) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านการเทศนาธรรม ( = ๔.๔๖, S.D. = ๐.๔๙๗) ด้านการสนทนาธรรม ( = ๔.๔๑, S.D. = ๐.๕๒๙) ด้านการสอนกรรมฐาน ( = ๔.๓๗, S.D. = ๐.๕๓๘) ด้านการใช้สื่ออุปกรณ์ประกอบการสอนธรรม ( = ๔.๓๗, S.D. = ๐.๖๗๖) ตามลำดับ
๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของพระธรรมทูตในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวม พบว่า ประชาชนที่มี่ เพศ อายุ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้าน การศึกษา อาชีพ รายได้ แตกต่างกัน มีความคิดต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูต ในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ปัญหา อุปสรรค พบว่า ความพร้อมในการทำงานยังไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน การเผยแผ่ธรรมไม่ตรงกับวัยของของผู้ฟัง พระธรรมทูตไม่เปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ถามในข้อสงสัยของการการปฏิบัติ พระธรรมทูตขาดความรู้ด้านการใช้สื่อต่างๆข้อเสนอแนะ พบว่า พระธรรมทูตควรเตรียมความพร้อมในการทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน พระธรรมทูตต้องรู้ว่าผู้ฟังเป็นบุคคลประเภทไหนจึงหยิบยกเอาเรื่อง ที่ตรงกับจริตของบุคคลเหล่านั้น เพื่อเข้าใจง่าย ในการปฏิบัติกรรมฐานควรมีการตอบคำถามข้อสงสัยจากการปฏิบัติสมถกรรมฐาน หรือวิปัสสนากรรมฐานของผู้เข้าปฏิบัติ มีความสามารถนำความรู้ จากสื่อ โดยการฉายทางโปรเจคเตอร์เพื่อให้เห็นภาพประกอบนำไปปฏิบัติได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
Download |