การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาศักยภาพการจัดการงานสาธารณูปการของเจ้าอาวาสในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อศักยภาพการจัดการงานสาธารณูปการของเจ้าอาวาสในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (๓) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการจัดการงานสาธารณูปการของ เจ้าอาวาสในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน ๒๓๘ รูป วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๒ รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ศักยภาพการจัดการงานสาธารณูปการของเจ้าอาวาสในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๑ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านการบูรณะและพัฒนาวัด อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๒๑ ด้านการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๔ และด้านการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๘
๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อศักยภาพการจัดการงานสาธารณูปการของเจ้าอาวาสในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ตำแหน่ง อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ และวุฒิการศึกษาทางธรรม มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อศักยภาพการจัดการงานสาธารณูปการของเจ้าอาวาสในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการจัดการงานสาธารณูปการของเจ้าอาวาสในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ข้อเสนอแนะข้อเสนอแนะต่อการจัดการงานสาธารณูปการของเจ้าอาวาสในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วย พัฒนาบุคคลากรของวัดให้มีศักยภาพ ทักษะ ความรู้ ตลอดจนมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน, เน้นความโปร่งใสเพื่อรักษาความเชื่อมั่นของพุทธศาสนิกชน ซึ่งมี ๒ องค์ประกอบ คือ การพัฒนาการบริหารงานงบประมาณอย่างเป็นระบบให้มากยิ่งขึ้น และการพัฒนาตัวชี้วัดการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อสร้างความเชื่อถือให้มากยิ่งขึ้น, พัฒนาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างวัดท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น และการสร้างเครือข่ายในการทำงานร่วมกันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้มากยิ่งขึ้น
Download |