หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสมุห์ธนาธิวัฒน์ อภินนฺโท (กุลพัฒนไพศาล)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๗ ครั้ง
แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนพุทธรังษีพิทยาลัย แผนก สามัญศึกษา วัดราชบุรณะ (พระอารามหลวง) อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร (สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสมุห์ธนาธิวัฒน์ อภินนฺโท (กุลพัฒนไพศาล) ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสมุทรวชิรโสภณ
  ธิติวุฒิ หมั่นมี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนพุทธรังษีพิทยาลัย แผนกสามัญศึกษา วัดราชบุรณะ (พระอารามหลวง) อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ๒) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะสภาพการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนพุทธรังษีพิทยาลัย แผนกสามัญศึกษา วัดราชบุรณะ (พระอารามหลวง) อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี(Mixed Methoded Research)เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research)โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research)จากแบบสอบถาม(Questionnaire)จากประชากรทั้งหมด ๗๒ รูป ซึ่งใช้ประชากรทั้งหมดเป็นประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก(In depth interview)กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Keyinformants) จำนวน ๑๘ รูป/คน เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ                                            

ผลการวิจัยพบว่า

กกกกกกกก๑) สภาพการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนพุทธรังษีพิทยาลัย แผนกสามัญศึกษา   วัดราชบุรณะ (พระอารามหลวง) อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = ๔.๑๓, 𝝈 = ๐.๔๒๔) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ระดับสภาพการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนพุทธรังษีพิทยาลัย แผนกสามัญศึกษา วัดราชบุรณะ (พระอารามหลวง) อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร สามารถเรียงลำดับความคิดเห็นของประชากรนักเรียนได้ดังนี้ ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (μ = ๔.๐๘, 𝝈 = ๐.๕๕๔) อยู่ในระดับมาก ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (μ = ๔.๒๖, = 𝝈 ๐.๔๙๒) อยู่ในระดับมาก ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา (μ = ๔.๐๑, 𝝈 = ๐.๕๖๐) อยู่ในระดับมาก ด้านการจัดระบบการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา (μ = ๔.๑๑, 𝝈 = ๐.๕๘๘) อยู่ในระดับมาก ด้านการสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษา (μ = ๔.๑๕, 𝝈 = ๐.๖๐๓) อยู่ในระดับมาก ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม (μ = ๔.๑๙, 𝝈 = ๐.๔๒๔) ซึ่งรวมกันแล้ว อยู่ในระดับมากทุกด้าน                                                                     ๒) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ สภาพการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนพุทธรังษีพิทยาลัย แผนกสามัญศึกษา วัดราชบุรณะ (พระอารามหลวง) อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร   
(
๑) ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ผู้บริหาร บุคลากรในโรงเรียนพุทธรังษีพิทยาลัยมีการประชุมกันทุกเดือนเพื่อวางกรอบนโยบาย วางแผนการสอน เพื่อรับทราบปัญหาสภาพความเป็นอยู่ของโรงเรียนและนักเรียนที่จะทำการเรียนการสอน เพื่อป้องกันกันแก้ไขปัญหาสิ่งที่ขัดข้องสำหรับปัญหาและอุปสรรค การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน คือผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องก็จริงอยู่ แต่ก็ทำให้ครูมีช่องว่างในการสอนมากเกินไปไม่มีช่วงที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สนทนาสอบถามเพื่อให้เกิดความเข้าใจในรายวิชานั้นซ้ำๆเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพความต้องการของผู้เรียน ครูผู้สอนควรเติมเต็มความรู้ความเข้าใจให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น (๒) ด้านการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาครูผู้สอนมีการเรียนรู้เทคนิคการสอนแต่ส่วนมากจะใช้อุปกรณ์เท่าที่มีตามสภาพที่เป็นอยู่จึงเข้าสู่กระบวนการสอนนักเรียนยังไม่ดีเท่าที่ควร ครูผู้สอนควรต้องเข้าใจแนวคิดที่ว่าผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเองโดยเชื่อมโยงความรู้เดิมที่มีอยู่ภายในเข้ากับการได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรนำแนวคิดนี้ไปพัฒนาวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ที่คงทนและเกิดทักษะที่ต้องการ (๓) ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ครูต้องมีทักษะการสื่อสารทั้งการบรรยายการยกตัวอย่างการเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีและรวมถึงการนำเสนอและการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ สำหรับปัญหาและอุปสรรค ครูต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องที่สอนเป็นอย่างดี หากไม่รู้จริงในเรื่องที่สอนแล้วก็ยากที่สอนนักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาเรียนนั้นๆ (๔) ด้านการจัดระบบการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา สถานศึกษาจัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้และพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นให้เหมาะสมกับผู้เรียนสนองความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น ส่วนปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะนั้น กิจกรรมเสริมการเรียนการสอนมีลักษณะหลากหลายกิจกรรม ส่วนใหญ่นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมสถานที่ทุกครั้ง นักเรียนชอบไปศึกษาที่แหล่งเรียนรู้ภายนอกมากกว่าเพราะไม่อยากเข้าชั้นเรียนตามปกติ (๕) ด้านการสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษา ได้จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ หาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้านให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา สำหรับปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะนั้น สถานศึกษาควรมีการจัดองค์กร/โครงสร้างและการบริหารงานอย่างเป็นระบบครบวงจรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา (๖) ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ผู้ปกครองให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนสถานศึกษาเป็นอย่างดียิ่ง สำหรับปัญหาและอุปสรรคนั้น ควรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน โดยการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้ผู้ปกครองและชุมชนได้รับรู้อย่างต่อเนื่องด้วยรูปแบบที่หลากหลาย

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕