การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี ประวัติความเป็นมาของการบริหารจัดการพระเครื่องเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย ๒) ศึกษาบทบาทการบริหารจัดการพระเครื่องในฐานะเป็นกุศโลบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบันและ ๓) หารูปแบบการบริหารจัดการพระเครื่องเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของพระสงฆ์ไทย
เป็นการวิจัยแบบคุณภาพโดยศึกษาจากตัวอย่างวัดของคณะสงฆ์ไทย เป็นการศึกษาภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่พระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์ พระสงฆ์ที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพระเครื่องภายในวัด รวมจานวนทั้งสิ้น ๑๘ รูป
ผลการวิจัยพบว่า
๑. การบริหารจัดการพระเครื่องเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย พบว่า ประวัติความเป็นมาของพระเครื่องนั้นเกิดขึ้นหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วภายหลังเหล่าผู้ที่นับถือพระพุทธเจ้าต้องการสิ่งที่ระลึกเพื่อนึกถึงพระศาสดาจึงได้สร้างสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาต่อมาเมื่อพุทธศาสนาได้เผยแผ่ในในประเทศไทยจึงได้เกิดเป็นพระเครื่องขึ้นเพื่อใช้เป็นกุศโลบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยสามารถแบ่งพระเครื่องที่พบเห็นออกเป็น ๖ หมวด แบบพระปฐม แบบถ้ำแหลมมลายู แบบขอม แบบสุโขทัย แบบอยุธยา แบบพระเครื่องๆ และแบ่งเป็นยุคสมัยต่างๆได้ดังนี้ ยุคสมัย ทราวดี ยุคสมัยหริภุญไชย ยุคสมัยศรีวิชัย ยุคสมัยลพบรี ยุคสมัยสุโขทัย ยุคสมัยอยุธยา ยุคสมัยรัตนโกสินทร์หรือยุคปัจจุบันโดยพระเครื่องแต่ละยุคจะมีวิธีการใช้เป็นอุบายในการเผยแผ่ที่แตกต่างกัน
๒. บทบาทการบริหารจัดการพระเครื่องในฐานะเป็นกุศโลบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน หากได้ศึกษาวิเคราะห์การอาศัยพระเครื่องเป็น กุศโลบายนั้นจะพบกระบวนการวิธีการที่บูรพาจารย์ใช้ในการสอนธรรมะปฏิบัติเพราะ พระเครื่องเป็นกุศโลบายในการเผยแผ่เพราะพุทธศาสนิกชนที่ได้มีโอกาสเข้าวัดมาแล้วได้พระเครื่องกับไปจิตใจก็จะแช่มชื่นเบิกบานเมื่อมีจิตใจเบิกบานแล้วจะระลึกถึง พุทธธานุสสติ แล้วแต่บางท่านจะระลึกโดยใช้ว่า "พุทโธ"หรือ "สัมมาอรหัง" "อิติสุคโต" ต่าง ๆน้อมนำมาสู่การประพฤติปฏิบัติ จนให้เกิดเป็นผลของการเจริญวิปัสสนาซึ่งก็คือ มรรค ผล นิพพาน
๓. รูปแบบการบริหารจัดการพระเครื่องเพื่อใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทำให้ทราบว่าการบริหารจัดการพระเครื่องเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยแบ่งออกเป็น ๔ ด้านคือ ๑) ด้านบุคคล ต้องคัดเลือกบุคลากรผู้มีคุณสมบัติดังนี้ มีความรู้ในทางหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีความสามารถในการอธิบายโน้มน้าวให้ผู้รับพระเครื่องเข้าถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นผู้มีคุณธรรมสูง ต้องมีการแต่งตั้งระบุหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่แต่ละคนมีตำแหน่งงานที่รับผิดชอบไม่ก้าวก่ายงานของกัน ผสานความร่วมมือสานสัมพันธ์กับชุมชน สุดท้ายมีการตรวจสอบและประเมินผลงาน ๒) ด้านงบประมาณ มีการทำบัญชีแสดงผลรายรับรายจ่ายมีการวางระบบจัดเก็บรายรับกับรายจ่ายให้ชัดเจนและมื่อการตรวจสอบบัญชีรายรับรายจ่ายอยู่เสมอเพื่อป้องกันข้อครหาควรชี้แจงรายรับรายจ่ายทุกเดือนสุดท้ายการเรื่องการบริหารรายรับเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาควรมีการแบ่งสรรปันส่วนรายรับที่ได้ออกเป็นด้านต่างตามกิจกรรมคณะสงฆ์ทั้ง ๖ ด้านตามแต่ความเหมาะสมของแต่ละวัดไม่เหมือนกัน และต้องมีการประชุมวางแผนชี้แจงผลอยู่เป็นประจำ
๓) ด้านวัสดุ ในที่นี้หมายถึง พระเครื่องเป็นสื่อในการสอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา การมอบพระเครื่องให้เป็นที่ระลึกในจัดกิจกรรมต่างๆของวัดหรืองานบุญวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาหรืองานเทศกาลประเพณีสามารถที่จะดึงดูดผู้สนใจให้มาเข้าวัดร่วมกิจกรรมถือเป็นกุศโลบายในการเผยแผ่ที่ได้รับความนิยมและได้ผลดีในการดึงดูดผู้รับพระเครื่องให้มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาแต่ควรมีการสอนหลักธรรมและอธิบายเหตุผลด้วยเพื่อเป็นการปรับศรัทธากับปัญญาของผู้รับพระเครื่องให้เท่ากันทำให้ได้
๔) ด้านการจัดการ ในการจัดการพระเครื่องเพื่อการเผยแผ่ย่อมประกอบไปด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์ ให้ชัดเจนว่ามีวัตถุประสงค์ในการสร้างพระเครื่องเพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การวางนโยบาย การแบ่งงานมีการมอบหมายอำนาจหน้าที่งานของเจ้าหน้าที่คณะกรรมการทำงานให้ชัดเจน มีการตรวจสอบงาน ติดตามผลงานว่ามีปัญหาในการดำเนินงานมากน้อยเพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุง การติดต่อสื่อสานและการประชาสัมพันธ์ ทำตามกฎมหาเถรสมาคมที่มีมติในการจัดการพระเครื่องตามที่มีระเบียบปฏิบัติ
Download |