การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนอำเภอ
แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ๒) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนอำเภอ
แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มตัวอย่างประชาชนทั้งหมด ๓๒,๘๘๗ คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง ๓๙๖ คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) และแบบสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t–test) สำหรับตัวแปรที่มี ๒ ค่า และทดสอบค่าเอฟ (F-test) หรือความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) สาหรับตัวแปรที่มี ๓ ค่าขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทาการเปรียบเทียบความแตกต่างหลายคู่ โดยวิธีหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๖ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสังคม ด้านอาชีพ ด้านวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสาธารณสุข อยู่ในระดับมากทุกด้าน
๒. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ ไม่แตกต่างกัน และทางด้าน อายุ ผู้ตอบแบบสอบถามนั้นมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนอำเภอแก่งกระจาน ในด้านอาชีพ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสาธารณะสุข มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนบทบาทในด้านสังคม และด้านวัฒนธรรม ประชาชนมีความเห็นไม่มีความแตกต่างกัน
๓. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ที่มีต่อบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน
อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ ด้านสังคม พบว่า ควรจัดให้มีการจัดโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้แบบต่อเนื่องทั้งภายในวัด หรือตามสถานที่ต่าง ๆ และให้การประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ให้กับประชาชน ด้านอาชีพ พบว่า ควรจัดให้มีเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จัดตั้งองค์กรชุมชน เช่น มูลนิธิ กองทุน ศูนย์ ฯลฯ สนับสนุนกลุ่มอาชีพดั่งเดิมในเป็นจุดแข็งในพื้นที่นั้นๆ ด้านวัฒนธรรม พบว่า ควรมีการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของวัฒนธรรม ประเพณี วันสำคัญของพุทธศาสนา และความสำคัญของพระสงฆ์ในการส่งเสริมวัฒนธรรมของชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ควรมีการปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน รักษาและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสาธารณสุข พบว่า ควรมีส่งเสริมการให้ความรู้ความเข้าใจงานด้านสาธารณะสุขแก่พระสงฆ์ และประชาชน ในความรู้ด้านการดูแลสุขลักษณะ
Download
|