การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามหลักไตรสิกขา อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ๒) เปรียบเทียบบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามหลักไตรสิกขา อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ๓) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามหลักไตรสิกขา อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการวิจัยโดยวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล และการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กและเยาวชนที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยม ในโรงเรียนมัธยมสังกัด สพม.๑๐ ในเขตอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีประชากรทั้งหมด ๑,๙๗๔ คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ๓๒๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที สำหรับตัวแปรที่มี ๒ ค่า และทดสอบค่าเอฟ หรือความแปรปรวนทางเดียว สำหรับตัวแปรที่มี ๓ ค่าขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท แล้วเสนอเป็นการเขียนแบบความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
๑. เด็กและเยาวชนมีความคิดเห็นต่อบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามหลักไตรสิกขา อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทั้ง ๓ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๑
๒. เด็กและเยาวชนที่มี สถานภาพด้านเพศ อายุ ช่วงชั้นที่ศึกษา อาชีพของผู้ปกครอง มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน เป็นการปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนสถานะภาพทางรายได้โดยประมาณ/เดือนของผู้ปกครองต่างกัน มีผล ความคิดเห็นต่อบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามหลักไตรสิกขา อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕ ซึ่งเป็นการยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓. ปัญหาอุปสรรค บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามหลักไตรสิกขา อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในด้านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามหลักไตรสิกขา คือ สื่อต่างๆได้นำเสนอเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ไปในทางลบ เป็นที่น่ากังขาต่อผู้พบเห็น พระสงฆ์บางรูปยังพูดจาไม่สุภาพ บางรูปสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ พระสงฆ์น่าจะอธิบายหลักธรรมให้ฟังง่ายๆ ทันยุกต์ทันต่อสมัยและน่าจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ซักถามข้อปัญหาตามสมควร ข้อเสนอแนะ ๑) ในด้านการอบรมสั่งสอนตามหลักไตรสิกขา พระสงฆ์ต้องเพิ่มพระวิทยากรและพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนให้มากขึ้นจะได้เพียงพอ ต้องช่วยกันปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้มากๆและสนับสนุนทุนการศึกษา อุปกรณ์การเรียนการสอน ส่วนเรื่องการจัดอบรมเพื่อเสริมความรู้ความ สามารถให้พระสงฆ์และเพิ่มบุคลากรในการปฏิบัติงานให้เพียงพอ ๒) ในด้านการสนับสนุนกิจกรรมตามหลักไตรสิกขา การจัดอบรมเพื่อเสริมความรู้ความสามารถให้พระสงฆ์ และเพิ่มบุคลากรในการปฏิบัติงานให้เพียงพอ ต้องจัดกิจกรรมให้ทันสมัย และ สามารถเข้าใจง่าย พระสงฆ์ต้องปฏิบัติการเชิงรุก นำธรรมะเข้าสู่โรงเรียน และประยุคให้เข้ากับวัย ๓) ด้านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามหลักไตรสิกขา ควรจะมีการคัดสรร อบรมบุคลากรเข้าบวชให้ดีจะได้ลดการประพฤติตนเสียหาย อยู่ในระเบียบวินัย พระสงฆ์ ต้องมีความสำรวมระวังทั้งบุคลิกภาพ จริยาวัตร เพื่อเพิ่มศรัทธาต่อผู้พบเห็น และเป็นที่ยอมรับของสถานศึกษา ปรับวิธีการนำเสนอธรรมะแบบง่ายๆให้เข้ากับวัยของเยาวชน พระสงฆ์ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ไม่ควรเสพสิ่งเสพติดใดๆ ใช้วาจาที่สุภาพ
Download |