กกก การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาวัดในตำบลบางจะเกร็ง เขต ๑ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม (๒) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาวัดในตำบลบางจะเกร็ง เขต ๑ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการพัฒนาวัดในตำบลบางจะเกร็ง เขต ๑ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม โดยในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ( Mixed methods research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ( Quantitative Research ) โดยการเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากประชาชนในตำบลบางจะเกร็ง เขต ๑ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน ๓๘๓ คน ซึ่งใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิด และปลายเปิด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-tes) และการทดสอบค่าเอฟ (F–test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๑๒ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
๑.การพัฒนาวัดในตำบลบางจะเกร็ง เขต ๑ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๑ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านการพัฒนาการจัดกิจกรรมภายในวัด ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านการพัฒนาศาสนสถานและศาสนวัตถุ พบว่า การพัฒนาวัดในตำบลบางจะเกร็ง เขต ๑ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม อยู่ในระดับมากทุกด้าน
๒.ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาวัดในตำบลบางจะเกร็ง เขต ๑ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีอายุ สถานภาพ วุฒิการศึกษา ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน และอาชีพ มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาวัดในตำบลบางจะเกร็ง เขต ๑ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓.ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาวัดในตำบลบางจะเกร็ง เขต ๑ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า ปัญหาและอุปสรรค คือ การพัฒนาดำเนินการกระทำไปตามรูปแบบวิธีการเดิมๆ ขาดการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และขาดการวางแผน แนวทาง นโยบาย กลยุทธ์ที่ชัดเจน ในการพัฒนาศาสนสถานขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน พระสงฆ์ผู้มีส่วนในการพัฒนาวัดขาดความรู้ความสามารถ และบางส่วนตามไม่ทันกระแสการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดของสังคม ทำให้มองไม่เห็นช่องทางการพัฒนาที่ตรงกับความต้องการของประชาชนในชุมชน ข้อเสนอแนะ พบว่า การพัฒนาวัดในตำบลบางจะเกร็ง เขต ๑ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ควรมีการปรับปรุงศาสนสถานใหสวยงาม ด้วยความประหยัดและเรียบงาย จัดกิจกรมเพื่อให้วัดเปนศูนยกลางในการจัดกิจกรรม ตางๆ ในชุมชน และควรมีการส่งเสริมให้บุคลากรทางศาสนาปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและประกอบศาสนกิจอันเปนประโยชนตอสังคม พัฒนาความรูของพระสังฆาธิการใหถูกตองทันสมัยทั้งทางโลกและทางธรรม เพื่อให้วัดเปนที่พึ่งพิงของประชาชน โดยเปนศูนยกลางของการเรียนรูในดานตางๆ เชน การศึกษา สงเคราะหสําหรับผูยากไร้ จัดแหลงสาธิตความรู สวนสมุนไพร โดยจัดวัดใหเปนอุทยานการศึกษาที่ประชาชนสามารถใชประโยชนในการเรียนรูและศึกษา
Download |