หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระคมศักดิ์ สุขิโต (ขอนเอิบ)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในประเพณีปีใหม่ของ กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงสะกอ
ชื่อผู้วิจัย : พระคมศักดิ์ สุขิโต (ขอนเอิบ) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระบุญทรง ปุญฺญธโร
  เทพประวิณ จันทร์แรง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้  มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงสะกอในจังหวัดเชียงราย  (๒) เพื่อศึกษาประเพณีปีใหม่ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงสะกอในจังหวัดเชียงราย  และ (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในประเพณีปีใหม่ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงสะกอในจังหวัดเชียงราย  ผลการศึกษาพบว่า

ชาวกะเหรี่ยงสะกอเชื่อว่า ยวา คือ ผู้สร้างโลก และมนุษย์ ที่ถือกำเนิดมาจากน่อง และตั้งชื่อว่า หน่อแหละ จอ เป็นมนุษย์คู่แรก ที่กะเหรี่ยงสะกอ ถือกำเนิดเป็นบุตรคนโต ต่อมาได้ขยายเผ่าพันธุ์มาเป็นมนุษย์ด้วยการครองรักกัน ตราบเท่าทุกวันนี้  ความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงสะกอเป็นความเชื่อดั่งเดิมและได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของชาวจีน  เดิมทีชาวกะเหรี่ยงสะกอให้ความสำคัญกับความเชื่อเรื่องผี คือมีทั้งผีดีและผีร้าย ซึ่งผีทั้งสองประเภทนี้ ชาวกะเหรี่ยงสะกอให้ความสำคัญต่อผีที่ดี เพราะเป็นผีที่มีคุณค่าทางด้านจิตใจ

ประเพณีปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยงสะกอ คือ ประเพณีกี่จึ๊ เชื่อว่าในรอบหนึ่งปีของมนุษย์ทุกคนมีความทุกข์มีความสุขคละเคล้ากันไปควรที่จะมีกิจกรรมเสริมสร้างความสุขให้กับมนุษย์จึงได้มีการฉลองและจัดให้มีพิธีกรรมให้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและปัดความทุกข์โศกโรคภัย  ดังนั้นกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้นำทางดานจิตวิญญาณ หมอผี (ฮีโข่) ก็จะกำหนดในเดือนกรกฎคม-สิงหาคมเป็นปีใหม่น้อย เป็นวันขึ้นปีใหม่ และในเดือนกุมภาพันธ์เป็นปีใหม่หลวงเมื่อถึงช่วงเทศกาลปีใหม่หมอผี (ฮี-โข่) พร้อมผู้อาวุโสและสมาชิกภายในชุมชนโดยเฉพาะผู้หญิงต้องร่วมประกอบพิธีกรรมในบ้านของตนเอง จุดมุ่งหมายของประเพณีปีใหม่ คือเป็นการขับไล่สิ่งชั่วร้ายความทุกข์ความโศกเศร้าสิ่งที่ไม่ดีให้ออกไปกับปีเก่าและต้อนรับสิ่งที่เป็นมงคลเข้ามาในชีวิตในวันปีใหม่ที่เข้ามาถึงดั้นนั้นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษและความสามัคคีของคนในกลุ่มเดียวกันการอนุรักษ์รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามไม่ให้สูญหายไป

คุณค่าของหลักพุทธจริยธรรม คือ คุณค่าที่เป็นพื้นฐานทางด้านจิตใจหรือจริยธรรมของความคิด และคุณค่าที่แสดงออกมาภายนอกหรือจริยธรรมในการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความประสารสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมที่อยู่ในใจของบุคคล กับจริยธรรมภาคปฏิบัติทางสังคม

 

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕