วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปริวรรตและตรวจชำระคัมภีร์โยชนามูลกัจจายนะปริเฉทที่ ๓ - ๔ (การก – สมาส) ศึกษาด้านเนื้อหา วิธีเขียนไวยากรณ์ และวิธีจานลงในใบลาน เป็นคัมภีร์อธิบายความหมายของคำและความในคัมภีร์มูลกัจจายนะแต่งขึ้นที่เชียงใหม่ โดยพระญาณกิตติเถระ ประมาณต้นพุทธศตวรรตที่ ๒๑ ในการตรวจชำระได้ใช้ต้นฉบับรดน้ำดำโท ร. ๓ ในหอสมุด แห่งชาติ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งจารได้สมบูรณ์กว่าทุกฉบับมาเป็นต้นฉบับ แล้วนำฉบับอื่นที่หาได้และมีความสมบูรณ์พอที่จะนำมาตรวจชำระ ที่มีอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ ๒ ฉบับ คือ ฉบับทองน้อย,และฉบับทองทึบ ฉบับเทพชุมนุมของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ๑ ฉบับ และฉบับวัดสังข์กระจายวรวิหาร อีก ๑ ฉบับ รวมเป็น ๕ ฉบับในด้านเนื้อหาคัมภีร์โยชนามูลกัจจายนะ (การก และสมาส) แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๕ บท
บทแรกเป็นบทนำ กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา และวิธีดำเนินการวิจัย,
บทที่ ๒
ศึกษาโยชนามูลกัจจายนะ คือ ต้นฉบับคัมภีร์ที่ใช้ในการตรวจชำระ วิธีการและหลักเกณฑ์การตรวจ
ชำระ วิวัฒนาการความเป็นมาของการคัดลอกและการจารต้นฉบับ ข้อผิดพลาดที่พบในการจาร
วิธีการเขียนคัมภีร์โยชนามูลกัจจายนะ ลักษณะภาษา และคุณค่าของคัมภีร์โยชนามูลกัจจายนะ
(การก และสมาส),
บทที่ ๓ โยชนามูลกัจจายนะที่ตรวจชำระแล้วพร้อมทั้งข้อผิดพลาด,
บทที่ ๔ โยชนามูลกัจจายนะแปล,
บทที่ ๕ ว่าด้วยบทสรุปและข้อเสนอแนะ
ผลของการวิจัยพบว่า คัมภีร์โยชนามูลกัจจายนะ ปริเฉทที่ ๓ - ๔ (การก และสมาส)
มีการจารลงในใบลานอักษรขอม ภาษาบาลี ฉบับสมัยราชกาลที่ ๓ เป็นฉบับที่มีเนื้อหาที่สมบูรณ์
ที่สุด และมีการแต่งคัดลอกต่อ ๆ กันมาหลายฉบับ ลักษณะการนำเสนอเนื้อหาในคัมภีร์โยชนามูลกัจจายนะได้วิวัฒนาการมาจากสัททาวิเสสอื่น ๆ คือ คัมภีร์สัททนีติ, คัมภีร์รูปสิทธิ, คัมภีร์ นยา
สะ เป็นต้น ด้วยการนำเนื้อหามาจากคัมภีร์ต่าง ๆ มาปรับปรุงและแต่งเสริมเข้าไปในส่วนที่ไม่มี
ผู้ประพันธ์ไว้ เนื้อหาบางส่วนพระญาณกิตติเถระแต่งขึ้นเอง โดยเน้นการสร้างรูปคำ มีการยก
สูตร วุตติ และอุทาหรณ์จากคัมภีร์อื่น ๆ มาประกอบการอธิบายศัพท์เพื่อความสมบูรณ์ของคัมภีร์
ที่ท่านแต่ง ศึกษาแล้วทำให้เข้าใจง่าย
Download : 254950.pdf |