หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » Phra Pisey Sikkhapiyo (Chhieng)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๒ ครั้ง
ความคิดเห็นของประชาชนที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : Phra Pisey Sikkhapiyo (Chhieng) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  ณัฐพงศ์ สังวรวรรณ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีผลต่อ
ความเข้มแข็งของชุมชน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา           ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๓๗๐ คน โดยใช้วิธี
สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของ เครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การทดสอบค่าที การตรวจสอบ ค่าเอฟ โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยสุด  กับการวิจัยคุณภาพ  ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก   กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๕ รูป/คน ซึ่งใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบท

            

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

             ๑) ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุตั้งแต่ ๕๖ ปีขึ้นไป มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี และมีระยะเวลาในการอยู่อาศัย ตั้งแต่ ๒๑ ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ไม่มีตำแหน่งในชุมชน มีรายได้ ตั้งแต่ ๑๓,๐๐๐ บาทขึ้นไป และส่วนใหญ่มีอาชีพรับราชการ

             ๒) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านจิตใจ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการเมืองการปกครอง และด้านเศรษฐกิจ อยู่ในระดับปานกลาง

             ๓) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลโดยรวม กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพ เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, ระยะเวลาในการอยู่อาศัย, ตำแหน่งในการบริหารองค์กรชุมชน, ระดับรายได้ต่อเดือนของครัวเรือน, และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา แตกต่างกัน ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

          ๔) ข้อเสนอแนะแนวทางในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมาส่วนใหญ่ คือ ๑) ด้านการเมืองการปกครอง ควรเปิดเวทีให้ประชาชนได้เข้าร่วมเสวนา แสดงความคิดเห็น ร่วมแก้ปัญหาต่างๆ ของชุมชน และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในทุกกระบวนการ ๒) ด้านเศรษฐกิจ ควรเดินตามรอยพระราชดำริ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก ในการแก้ปัญหา และพัฒนา ๓) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ควรมีการประชุมสร้างความร่วมมือระหว่างประชาชนกับองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และวัด ในการอนุรักษ์และสืบทอดประเพณี วัฒนธรรม ๔) ด้านจิตใจ ควรมีการจัดโครงการอบรมศีลธรรม จริยธรรม ให้เด็กและเยาวชน พร้อมทั้งผู้ใหญ่
เพื่อพัฒนาจิตใจให้มั่นคง โดยมีการเข้าร่วมของประชาชน ทั้งภาครัฐ และเอกชนต่างๆ

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕