วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการดูแลสุขภาพตนเองแบบองค์รวมของผู้สูงอายุตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ๒) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองแบบองค์รวมตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน ๘๒๒ คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒๗๔ คน และสัมภาษณ์ผู้ทรงวุฒิเพิ่มเติม เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริม การดูแลสุขภาพตนเองแบบองค์ของผู้สูงอายุตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนา จำนวน ๑๖ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis Technique) ประกอบบริบท (Content)
ผลการวิจัยพบว่า:
๑. การดูแลสุขภาพตนเองแบบองค์รวมของผู้สูงอายุตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= ๓.๙๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การด้านกายภาพ (กายภาวนา) มีค่าเฉลี่ยมากสุด (= ๔.๐๔) รองลงมาได้แก่ ด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น (ศีลภาวนา) (= ๔.๐๒) และด้านสภาวะจิตใจตนเอง (จิตภาวนา) (= ๓.๙๙) ส่วนด้านการคิดพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างรอบคอบ (ปัญญาภาวนา) มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด (= ๓.๙๑) เมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพก่อนเป็นผู้สูงอายุ อาชีพปัจจุบัน และรายได้ต่อเดือน พบว่า การดูแลสุขภาพตนเองแบบองค์รวมตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
๒. แนวทางส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองแบบองค์รวมตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ๑) เทศบาลควรจัดเจ้าหน้าที่พยาบาลผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะด้านในการดูแลผู้สูงอายุโดยตรงตลอด ๒๔ ชั่วโมง ให้การดูแลแบบองค์รวม โดยการวางแผนการดูแลสุขภาพตามความต้องการและความเหมะสม ในด้านการออกกำลังกาย ด้านโภชนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลผู้สูงอายุเฉพาะบุคคล และผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง ๒) เทศบาลควรส่งเสริมให้ชมรมผู้สูงอายุจัดกิจกรรม การช่วยเหลือดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้ร่างกายแข็งแรง และสุขภาพจิตที่ดี โดยจัดสัปดาห์ตรวจสุขภาพประจำปี การทัศนาจรใน และนอกสถานที่ของจังหวัด จัดฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรมทุกวันพระ และวันสำคัญทางศาสนา ๓) เทศบาลควรส่งเสริมจัดเตรียมความพร้อมบุคคล ที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุ เพื่อการยอมรับ และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ สังคม สิ่งแวดล้อมทั้งร่างกาย จิตใจ ได้อย่างมีความสุขในวัยสูงอายุ
Download |