การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการนำหลักสังคหวัตถุไปใช้ในวิถีชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ๒) เพื่อเปรียบเทียบการนำหลักสังคหวัตถุไปใช้ในวิถีชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ๓). เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการนำหลักสังคหวัตถุไปใช้ในวิถีชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ประชาชนในเขตเทศบาล ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา จำนวนทั้งสิ้น ๙,๓๗๒ คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๘๔ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบค่า (t – test) และทดสอบค่า (F – test)
ผลการวิจัย
๑.) การนำหลักสังคหวัตถุไปใช้ในวิถีชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา โดยรวมทั้ง ๔ ด้าน มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับปานกลาง ( =๓.๓๖) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ประชาชนนำหลักสังคหวัตถุไปใช้ในวิถีชีวิต ด้านทาน (การให้) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =๓.๖๙) รองลงมาได้แก่ ด้านปิยวาจา (วาจาเป็นที่รัก) ( =๓.๓๖) และด้านอัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) ( =๓.๒๖) ส่วนด้านสมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =๓.๑๕) ตามลำดับ
๒.) ผลการเปรียบเทียบการนำหลักสังคหวัตถุไปใช้ในวิถีชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน มีการนำหลักสังคหวัตถุไปใช้ในวิถีชีวิตแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๓.) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการนำหลักสังคหวัตถุไปใช้ในวิถีชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา (๑) ด้านทาน (การให้) ควรมีการทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ และเป้าหมายควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือรู้จักแบ่งปันสิ่งของและคำแนะนำที่ถูกต้องเกี่ยวกับการให้ทาน (๒) ด้านปิยวาจา (วาจาเป็นที่รัก) ควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการให้สามารถทำงานร่วมกัน ตลอดถึงมีการอบรมเป็นระยะๆ เกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อให้งานบรรลุความสำเร็จ (๓) ด้านอัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) ควรมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ และชี้แจงถึงประโยชน์ของการรวมกลุ่มเพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมในการเข้าถึงประชาชนมากยิ่งๆขึ้นไป และ(๔) สมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ) ควรมีมาตรการในการควบคุมในการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ มีการตรวจทานการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องอันนำไปสู่ความเข้าใจ เข้าถึง และการพัฒนาในวิถีชีวิตของประชาชนด้านอื่นต่อไป
Download |