วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ๒) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานีที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน และ ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ประชากร ได้แก่ ประชาชนที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานีจำนวน ๘,๒๘๕ คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง ๓๖๙ คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามแบบปลายปิดและปลายเปิด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการหาค่าสถิติ t-test F-test และทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)
ผลการวิจัยพบว่า
๑) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานีโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเศรษฐกิจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ต่อเดือน พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
๒) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ที่มีอาชีพ และรายได้
ต่อเดือนต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๐๑ และเพศต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนที่มี อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน ไม่แตกต่างกันอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๓) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ปัญหา พบว่า ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีความถี่สูงสุด ข้อที่ว่า เปิดโอกาสให้ร่วมแสดงความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาที่เกิดในชุมชน น้อย สำหรับแนวทางแก้ไข พบว่า ด้านโครงสร้างพื้นฐานมีความถี่สูงสุด ข้อที่ว่า ควรอำนวยความสะดวกในการเข้าร่วมรับฟังการกำหนดนโยบายการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานแก่ประชาชน
Download |