การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ดังนี้ ๑)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา๒) เพื่อเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาตามความคิดเห็นของประชาชน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกันและ ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะปัญหาและแนวทางส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)ประชากรได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาในตำบลคูขุด ตำบลดีหลวง และตำบลชุมพล ในเขตอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาจำนวน ๓,๔๕๗คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ เคร็จซี่และมอร์แกน (R.V. Krejcie and D.W. Morgan)ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๕๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ(Percentage)ค่าเฉลี่ย(Mean)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)ค่าสถิติทดสอบที(t – test)ค่าสถิติทดสอบเอฟ(F – test)ถ้าพบความแตกต่าง จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุดของ เซฟเฟ่(Scheffe’s method)ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า:
๑.แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา พบว่า โดยรวมทั้ง ๔ ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก( =๔.๐๖) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =๔.๑๙) รองลงมาคือ ด้านเศรษฐกิจ( =๔๑๘) และด้านสิ่งแวดล้อม ( =๓.๙๘)ส่วนด้านสังคม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด( =๓.๘๙) เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
๒. ผลการเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาพบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.๐๕ส่วนประชาชนที่มีอาชีพต่างกันมีความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอ สทิงพระ จังหวัดสงขลา ไม่แตกต่างกัน
๓. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา พบว่า ประชาชนได้เสนอแนะปัญหา ด้านเศรษฐกิจ มีค่าความถี่มากสุด โดยเสนอแนะว่าการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยวจากภาครัฐไม่เพียงพอกับความต้องการของชุมชนขาดการพัฒนาและประยุกต์สินค้าพื้นเมืองให้สัมพันธ์กับยุคติจิตอล ส่วนแนวทางส่งเสริมประชาชนได้เสนอแนะแนวทางส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยเสนอแนะว่าภาครัฐต้องให้การส่งเสริม เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้แก่คนในชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างจริงจัง รัฐต้องจัดสรรเพิ่มงบประมาณในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน
Download |