หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พุธิธาดา เดชพิทักษ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๖ ครั้ง
การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสุขจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธจิตวิทยา (สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา)
ชื่อผู้วิจัย : พุธิธาดา เดชพิทักษ์ ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  พุทธชาติ แผนสมบุญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสุขจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธจิตวิทยานี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดของวิปัสสนากรรมฐานและความสุขตามหลักพุทธจิตวิทยา ๒) เพื่อสร้างโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสุขจากการวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธจิตวิทยา ๓) เพื่อตรวจสอบความตรงและนำเสนอโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสุขจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธจิตวิทยา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีที่ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านพุทธจิตวิทยา จิตวิทยา อภิธรรมและวิปัสสนาจารย์ จำนวน ๑๔ รูป/คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง และสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๔๐๒ คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลทางตรงและ ทางอ้อมด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า

๑.   โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสุขจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธจิตวิทยาประกอบด้วยตัวแปร ๔ ตัวแปร ได้แก่ ๑) การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๒) ปัจจัยแวดล้อมระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๓) ธรรมเกื้อกูลสติปัฏฐาน ๔) ความสุขตามแนวพุทธจิตวิทยา

๒.   โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสุขจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธจิตวิทยาประกอบด้วยตัวแปรแฝงภายนอก ๒ ตัวแปร ได้แก่ ๑) การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
๒) ปัจจัยแวดล้อมระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตัวแปรแฝงภายใน ๒ ตัว ได้แก่ ๑) ธรรมเกื้อกูลสติปัฏฐาน ๒) ความสุขตามแนวพุทธจิตวิทยา โดยพบความเชื่อมโยงของตัวแปร ดังต่อไปนี้
๑) ความเชื่อมโยงระหว่างวิปัสสนากรรมฐานกับความสุข ๒) ความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับความสุข ๓) ความเชื่อมโยงระหว่างธรรมเกื้อกูลการปฏิบัติธรรมกับความสุข ๔) ความเชื่อมโยงระหว่างวิปัสสนากรรมฐานกับธรรมเกื้อกูลการปฏิบัติธรรม และ ๕) ความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับธรรมเกื้อกูลการปฏิบัติธรรม

โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสุขจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธจิตวิทยา พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก โดยมีค่าไค-สแควร์
(
2) = ๘๔.๓๘ องศาอิสระ (df) = ๗๖ ความน่าจะเป็น (p) = .๒๔  และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) = ๐.๐๑๗ ทั้งนี้ความสุขตามแนวพุทธจิตวิทยาได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยแวดล้อมระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .๙๒ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ในขณะที่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต้องอาศัยธรรมเกื้อกูลสติปัฏฐานเป็นตัวแปรส่งผ่านจึงจะทำให้เกิดความสุขตามแนวพุทธจิตวิทยา  นอกจากนี้องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย คือ ความสุขตามแนวพุทธจิตวิทยา ๔ = การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๔ + ธรรมเกื้อกูล ๓ + ปัจจัยแวดล้อมขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๕

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕