การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ๑.เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปการบริหารจัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร อำเภอวังน้อย จังหวัดอยุธยา ๒.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓.เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการบริหารจัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๔๐ จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดสรรที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ตำบลพยอม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๓๖๗ คน จากประชากรทั้งหมด ๔,๔๑๔ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่ ๒ กลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๒ คนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
๑. การบริหารจัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๙๓, S.D. =๐.๒๔๒)เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ๑.ด้านการบริหารงานสำนักงาน( = ๔.๐๘, S.D. = ๐.๔๐๖)๒. ด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน( = ๔.๐๔, S.D. = ๐.๓๙๖)๓. ด้านการซ่อมบำรุงและบริการด้านสาธารณูปโภคส่วนกลาง( = ๔.๐๒, S.D. = ๐.๓๔๑)๔. ด้านการให้ความรู้ ข้อมูล และการติดต่อสื่อสาร ( = ๓.๙๗, S.D. = ๐.๔๐๗)๕.ด้านการจัดกิจกรรมและประเภทของกิจกรรม( = ๓.๙๓, S.D. = ๐.๓๖๓) ๖. ด้านการจัดเก็บรายได้( = ๓.๕๒, S.D. = ๐.๖๔๙)ทุกด้านอยู่ในระดับมาก
๒. ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และระยะเวลาพักอาศัย แตกต่างกัน มีความคิดเห็นโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓. ปัญหา อุปสรรค เกี่ยวกับการบริหารจัดการหมู่บ้านจัดสรร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาคือ ผู้พักอาศัยบางส่วนไม่จ่ายค่าส่วนกลางตามเวลา ทำให้การบริหารจัดการเป็นไปด้วยความยากลำบากไม่ช่วยกันดูแลทรัพย์สินส่วนกลางส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่นทำผิดระเบียบข้อบังคับ ไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น มีต่อเติมที่อยู่อาศัยอย่างผิดระเบียบ ขัดกับกฎหมายมีการบุกรุกพื้นที่ส่วนกลางการเลี้ยงสุนัขอย่างไม่ดูแลปล่อยถ่ายมูลบนถนนคณะกรรมการไม่แจ้งยอดบัญชีกลางให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการรับทราบข้อมูลและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการหมู่บ้านจัดสรร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาคือ ทุกคนควรมีส่วนร่วมต้องเสียสละทั้งจากผู้อยู่อาศัยและคณะกรรมการควรยึดข้อบังคับเป็นหลักในการบริหารจัดการ ซึ่งข้อบังคับเปรียบได้กับกฎหมายที่ผู้เข้ามาบริหารจะต้องยึดถือผู้อาศัยควรให้ความร่วมมือในการจ่ายเงินค่าส่วนกลาง และคณะกรรมการร่วมปรึกษาหาแนวทางในการจูงใจให้ผู้พักอาศัยจ่ายค่าส่วนกลางในการต่อเติมที่พักอาศัยควรขออนุญาตและปฏิบัติตามระเบียบข้อตกลงที่ได้ลงมติร่วมกันควรพักอาศัยร่วมกันโดยเคารพสิทธิ และเกรงใจผู้อื่นช่วยกันรักษา และดูแลทรัพย์สินส่วนกลางดูแลสุนัขที่ตนเลี้ยงให้ดี ไม่ปล่อยไปรบกวนบ้านอื่น รวมถึงการปล่อยถ่ายมูลและคณะกรรมการแจ้งยอดบัญชีกลางให้คนในชุมชนได้รับรู้ รับทราบมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
Download
|