การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาบทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี (๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาบทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาบทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน ๓๔๙ คน การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (
Mixed-Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การหาคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ ๐.๙๗ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) หากพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)
ผลการวิจัย พบว่า
๑. การพัฒนาบทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ ทั้ง ๔ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๓ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านการสอนวิชาพุทธศาสนา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ ๓.๘๘ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสอนวิชาพระพุทธศาสนาแบบบูรณาการเข้าสู่วิถีชีวิต อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๗
๒. ผลการเปรียบเทียบพัฒนาบทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัด
สุราษฎร์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวม นักเรียนที่มีเพศ อายุ วุฒิทางการศึกษาสายสามัญ และวุฒิทางการศึกษาทางธรรม ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาบทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓. ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำเสนอเป็นข้อเสนอแนะต่อบทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ ๔ ด้าน ดังนี้ (๑) ด้านการสอนวิชาพุทธศาสนา ควรพัฒนาวิธีการสอนให้มีความน่าสนใจเพื่อกระตุ้นผู้เรียน, ควรจัดวิทยากรให้ความรู้สื่อการสอนที่ทันสมัยมากขึ้น (๒) ด้านเป็นผู้นำนักเรียนฝึกสมาธิ ควรเพิ่มเวลาการฝึกสมาธิก่อนการเรียน, ควรอบรมให้ความรู้ด้านสมาธิที่ง่ายต่อการเข้าใจ (๓) ด้านเป็นผู้สอนหรือทบทวนธรรมศึกษาให้แก่นักเรียน ควรมีการประเมิลผลด้านคุณธรรมจริยธรรมที่ชัดเจน, ควรใช้ภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ
(๔) ด้านการสอนวิชาพระพุทธศาสนาแบบบูรณาการเข้าสู่วิถีชีวิต ควรการจัดกิจกรรเกี่ยวกับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้มากขึ้น
Download
|