การวิจัยเรื่อง การบูรณาการหลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑. เพื่อศึกษาสภาพการบูรณาการหลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ ๒. เพื่อเปรียบเทียบการบูรณาการหลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ โดยจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ๓. เพื่อศึกษาเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการบูรณาการหลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน ๔๑๔ คน และครูผู้สอน จำนวน ๓๒๗ รวมทั้งสิ้นจำนวน ๔๖๘ คน และกลุ่มเป้าหมาย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน ๙ คน และครูผู้สอนจำนวน ๑๒ คน รวมทั้งสิ้นจำนวน ๒๑ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) ๕ ระดับ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .๙๗ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า ที (t-test แบบ Independent Sample) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test แบบ One-way ANOVA) การทดสอบหาค่าความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของ เซฟเฟ่ (Scheffe’s Method) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
การบูรณาการหลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต๔ โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = ๔.๔๔ โดยเรียงลำดับมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านการบริหารตามหลักวิมังสา ด้านการบริหารตามหลักวิระยิ ด้านการบริหารตามหลักฉันทะ ส่วนด้านการบริหารตามหลักจิตตะ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ค่าเฉลี่ย = ๔.๓๗การเปรียบเทียบการบูรณาการหลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่า โดยภาพรวม มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยผู้บริหารสถานศึกษามีการปฏิบัติสูงกว่าครูผู้สอน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการบริหารตามหลักฉันทะ และด้านการบริหาร ตามหลักวิมังสา มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ และด้านการบริหาร ตามหลักวิริยะ มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนด้านการบริหารตามหลักจิตตะ มีการปฏิบัติไม่แตกต่างกันแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการบูรณาการหลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ ด้านการบริหารตามหลักฉันทะ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนควรมีใจรักในการพัฒนาการเรียนการสอนและมีการจัดฝึกอบรมศึกษาดูงาน ติดตามตรวจสอบ สอดส่อง ดูแล ด้วยความโปร่งใส ตลาดถึงการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษา ด้านการบริหารตามหลักวิริยะ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนควรมีความเพียรพยายามในการพัฒนาการเรียนการสอน และมีการจัดฝึกอบรมดูงานติดตามตรวจสอบ สอดส่อง ดูแล งบประมาณด้วยความโปร่งใส ตลอดถึงการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษา ด้านการบริหารตามหลักจิตตะ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนควรมีความเอาใจฝักใฝ่ในการพัฒนาการเรียนการสอน และมีการจัดฝึกอบรมศึกษาดูงาน ติดตามตรวจสอบ สอดส่อง ดูแล งบประมาณด้วยความโปร่งใส ตลอดถึงการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษาและด้านการบริหารตามหลักวิมังสา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ควรพิจารณาไตร่ตรอง ตรวจสอบพัฒนาการเรียนการสอน และมีการจัดฝึกอบรมศึกษาดูงาน ติดตามตรวจสอบ สอดส่อง ดูแล งบประมาณด้วยความโปร่งใส ตลอดถึงการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษา
Download |