หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสาครสุทธิธรรม (ดิลก กิตฺติติลโก)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
พุทธวิธีส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทย
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสาครสุทธิธรรม (ดิลก กิตฺติติลโก) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชปริยัติมุนี (เทียบ สิริญาโณ)
  บุญเลิศ โอฐสู
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับค่านิยมในสังคมไทย ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทย และ ๓) เพื่อนำเสนอพุทธวิธีการส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้านเอกสาร คือการวิเคราะห์และสังเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า แนวคิดเกี่ยวกับค่านิยมในสังคมไทยมาจากวัฒนธรรม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตหรือมรดกแห่งสังคมที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือสร้างขึ้นเพื่อความเจริญงอกงาม และจิตวิญญาณของมนุษย์ที่แสดงออกในรูปแบบต่างๆ เช่น การดำเนินชีวิต การใช้ภาษา เป็นต้น และความเชื่อที่บุคคลใช้ยึดถือประจำใจที่จะช่วยตัดสินใจในการเลือกที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ค่านิยมมีมาตั้งแต่สมัยพระร่วงเจ้าแห่งอาณาจักรสุโขทัย แบ่งออกเป็น ๔ ด้าน คือ (๑) ด้านคติธรรม (๒) ด้านเนติธรรม (๓) ด้านวัตถุธรรม และ (๔) ด้านสหธรรม สำหรับหลักพุทธธรรมในการส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทยสามารถแบ่งออกเป็น ๔ ด้าน คือ (๑) ทิฎฐธัมมิกัตถะหรือทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔ และพรหมวิหาร ๔ เป็นหลักพุทธธรรมส่งเสริมค่านิยมด้านคติธรรม เพราะสามารถใช้ในการดำเนินชีวิต (๒)
อปริหานิยธรรม ๗ และ
สัปปุริสบัญญัติ  ๓ เป็นหลักพุทธธรรมส่งเสริมค่านิยมด้านเนติธรรม เพราะสามารถใช้เป็นแบบอย่างและแบบแผนอันเป็นจารีตประเพณีได้ (๓) สันโดษ ๓ และอปัณณกปฏิปทา ๓ เป็นหลักพุทธธรรมส่งเสริมค่านิยมด้านวัตถุธรรม เพราะสามารถใช้กับสิ่งที่วัตถุธรรมได้อย่างคุ้มค่า พอเหมาะ พอดี พอเพียง (๔) ศีล ๕ และ ทิศ ๖ เป็นหลักพุทธธรรมส่งเสริมค่านิยมด้านสหธรรม เพราะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ส่วนพุทธวิธีการส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทย คือวิธีการแนวพุทธที่สามารถช่วยส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทยทั้ง ๔ ด้านได้เป็นอย่างเป็นรูปธรรม คือ (๑) พุทธวิธีการส่งเสริมค่านิยมตามหลักกตัญญูกตเวที (๒) พุทธวิธีการส่งเสริมค่านิยมตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม  (๓) พุทธวิธีการส่งเสริมค่านิยมตามหลักสุจริตธรรม (๔) พุทธวิธีการส่งเสริมค่านิยมตามหลักจาคะ (๕) พุทธวิธีการส่งเสริมค่านิยมตามหลักสันโดษ และจากพุทธวิธีการส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทยทั้ง ๔ ด้าน สามารถสร้างเป็น “RPVAB : Model” คือกระบวนการส่งเสริมค่านิยมในสังคมไทยให้เข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืน ได้ดังนี้ คือ (๑) ระบบการรับรู้ค่านิยมในสังคมไทย (Recognition system) (๒) ทัศนคติเชิงบวกต่อค่านิยมในสังคมไทย (Positive attitude) (๓) ความตระหนักในคุณค่าของค่านิยมในสังคมไทย (Value awareness) (๔) การยอมรับค่านิยมในสังคมไทย (Acceptance) และ (๕) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามค่านิยมในสังคมไทย (Behavior modification) โดย “RPVAB : Model” สามารถนำไปสร้างค่านิยมในสังคมไทย สร้างลักษณะนิสัย สร้างแนวความคิดใหม่ วางแผนปฏิบัติที่ดี แนวทางปฏิบัติตามค่านิยมพื้นฐาน มุ่งเน้นของการสร้างค่านิยมแต่ละระดับเป้าหมาย  และค่านิยมที่ควรถือปฏิบัติในสังคมไทย

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕