การวิจัยเรื่อง การจัดการพุทธศาสนสถานให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์ อยู่ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาพัฒนาการพุทธศาสนสถานในจังหวัดเลย (๒) เพื่อศึกษาแหล่งท่องเที่ยวพุทธศาสนสถานในจังหวัดเลย (๓) เพื่อศึกษาการจัดการพุทธศาสนสถานให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเลย มีวิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method Research) โดยได้เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๒๕ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth Interview) ที่ใช้สำหรับพระภิกษุสงฆ์ เจ้าหน้าที่วัฒนธรรมประจำอำเภอและเจ้าหน้าที่เทศบาลประจำตำบล และแบบสนทนากลุ่ม (Inter View Guideline) ที่ใช้สำหรับผู้นำชุมชนและบุคคลที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
ผลการวิจัยพบว่า
พัฒนาการพุทธศาสนสถานในจังหวัดเลย พบว่า พัฒนาการพุทธศาสนสถานในจังหวัดเลยในยุคนี้ มีการส่งเสริมการเรียนรู้ในด้านจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม คุณค่าที่มีอยู่ในงานสถาปัตยกรรม เป็นคติความเชื่อของคนในชุมชน พัฒนาการพุทธศาสนสถานในจังหวัดเลย จึงเป็นการพัฒนาการจากค่านิยม ความเชื่อเป็นแนวทางแห่งปฏิบัติในสิ่งที่เหมาะสม หรืออยู่ในกฎกติกาของสังคม การสร้างแนวทางการเรียนรู้นั้นมักจะสร้างผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น
แหล่งท่องเที่ยวพุทธศาสนสถานในจังหวัดเลย พบว่า พุทธศาสนสถานที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเลย มีความโดนเด่นหลายด้าน เช่น ด้านจิตรกรรม ด้านประติมากรรมและด้านสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นพุทธศาสนสถานที่ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
การจัดการพุทธศาสนสถานให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเลย พบว่า การจัดการพุทธศาสนสถานให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว จำเป็นต้องมีกลไกและมีระบบบริหารที่มีความสอดคล้องกับความต้องการและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว มีเว็บไซน์ แผ่นพับ ออนไลน์ เฟซบุค และการสร้างกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจกับนักท่องเที่ยวในสถานที่นั้นๆ จึงต้องมีการจัดเตรียมพุทธศาสนสถานให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็จะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี
Download
|