หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูประทีปวีรธรรม (ปัญญา ปญฺญาปทีโป)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
การเสริมสร้างความเข้มแข็งด้วยหลักเศรษฐกิจเชิงพุทธของกลุ่มเกษตรกร ในเขตอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อผู้วิจัย : พระครูประทีปวีรธรรม (ปัญญา ปญฺญาปทีโป) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสุธีคัมภีรญาณ
  พระโสภณพัฒนบัณฑิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๐ มกราคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักเศรษฐกิจในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อการเสริมสร้างความเข็มแข็งด้วยหลักเศรษฐกิจเชิงพุทธของกลุ่มเกษตรกรในเขตอำเภอยางสีสุราช  จังหวัดมหาสารคาม  โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร และการวิจัยภาคสนาม โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการประมวลผลการศึกษาแล้วนำเสนอข้อมูลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ พบว่า

หลักเศรษฐกิจในพระพุทธศาสนาเถรวาท ในงานวิจัยมีอยู่ ๓ ประการ คือ การผลิต การจำหน่ายและการบริโภค ที่เน้นการมีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรม มีเหตุ มีผล ในการผลิตมีการจำหน่ายและบริโภควัตถุเพื่อสร้างประโยชน์แก่สังคม ใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติให้คุ้มค่าด้วยปัญญา ไม่ส่งเสริมการผลิตแบบทุนนิยมและบริโภคด้วยตัณหา แต่เน้นให้ผลิตด้วยปัญญาค่อยเป็นค่อยไปตามเหตุปัจจัยและรู้จักประมาณในปัจจัย ๔ ที่สำคัญต้องตั้งอยู่บนประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่น อย่างถูกต้องและเป็นธรรม

สภาพทั่วไปของกลุ่มเกษตรในเขตอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ได้มีการแบ่งกลุ่มเกษตรกรออกเป็น ๕ กลุ่มคือ  กลุ่มบำนาญชาวนา กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ กลุ่มทำปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มทำเครื่องจักสาน  และกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทุกกลุ่มล้วนมีหลักการและวิธีการในการทำงาน กลุ่มบำนาญชาวนาเน้นเรื่อง ดิน นา ป่า น้ำ กลุ่มโรงปุ๋ยจะเน้นปุ๋ยที่เป็นชีวภาพ  กลุ่มเครื่องจักสาน จะเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติในการผลิต กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จะเน้นในเรื่องของการผลิตผ้าไหมส่งออก ทุกกลุ่มล้วนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยปัญหาที่พบแต่ละกลุ่มนั้นส่วนมากจะเป็นในเรื่องของภัยธรรมชาติ  แหล่งน้ำมีสารเคมีตกค้างจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช  เรื่องของการขาดการประชาสัมพันธ์เพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน

การเสริมสร้างความเข็มแข็งด้วยหลักเศรษฐกิจเชิงพุทธของกลุ่มเกษตรกรในเขตอำเภอยางสีสุราช  จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเกษตรกรได้นำหลักสัมมาอาชีวะ หลักทิฏฐธัมมิกัตถะ ๔, นาถกรณธรรม ๑๐, สังคหวัตถุ ๔, การละเว้นอคติ ๔, มัตตัญญุตา, โภควิภาค ๔ ซึ่งสิ่งสำคัญสุดของกลุ่มเกษตรกรคือการดำรงชีวิตตามหลักสันโดษและหลักมัตตัญญุตา ตรงกับหลักเศรษฐกิจเชิงพุทธที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแค่การผลิตและจำหน่ายให้กับผู้บริโภคเพื่อหวังผลกำไรเท่านั้น แต่หมายเอาการได้พัฒนาองค์ประกอบทุกอย่างของชีวิต เช่น การรู้จักประมาณ การไม่เอารัดเอาเปรียบกันไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และไม่ใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยเกินฐานะของตน

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕