หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ธงไชย สุขแสวง
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๕ ครั้ง
แนวทางการเสริมสร้างหลักกัลยาณมิตรแก่นักศึกษาในหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ชื่อผู้วิจัย : ธงไชย สุขแสวง ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  -
  พระโสภณพัฒนบัณฑิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เคือ ๑) เพื่อศึกษาหลักกัลยาณมิตรในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาสภาพนักศึกษา สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างหลักกัลยาณมิตรแก่นักศึกษาในหลักสูตรครุ ศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหาร คณาจารย์ประจำหลักสูตร พระสงฆ์ และนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต จำนวน ๕๐ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า

สภาพนักศึกษา  สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ได้ศึกษาความรู้ตามหลักสูตรได้รับการอบรมสั่งสอนด้วยวิธีที่หลากหลายมีทักษะทางปัญญาที่สามารถคิดวิเคราะห์ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สอดคล้องกันกับการศึกษายุคปัจจุบัน

หลักกัลยาณมิตรในพระพุทธศาสนาพบว่าเป็นการเสริมสร้างหลักกัลยาณมิตตธรรม ๗ ประการความเป็นคนน่ารัก เป็นที่เคารพของคนทั่วไป มีความรู้ประสบการณ์ มีภูมิปัญญาอย่างแท้จริง รู้จักพูดชี้แจงให้ผู้อื่นเข้าใจง่าย มีความอดทนต่อการว่ากล่าวจากผู้อื่น มีความสามารถแถลงเรื่องราวได้อย่างล้ำลึก และไม่ชักนำไปในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ในขณะเดียวกันกัลยาณมิตรต้องประกอบด้วยคุณสมบัติที่ถึงพร้อม ๘ ประการ คือ ความศรัทธา การฟัง การสำรวมกาย วาจา ใจ การเสียสละ มีความเพียร มีสติ มีสมาธิและมีปัญญาให้ถึงพร้อมสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนานักศึกษาให้ เป็นบุคคลที่มีความสมบูรณ์การจัดกิจกรรมของนักศึกษายังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติอีกเป็นอันมาก กิจกรรมนักศึกษาจึงมีความสำคัญต่อทั้งนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษา และประเทศเป็นอย่างมาก

แนวทางการเสริมสร้างหลักกัลยาณมิตรแก่นักศึกษาในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันนั้นเป็นเพียงองค์ประกอบภายนอกเท่านั้น สิ่งสำคัญคือองค์ประกอบภายในของนักศึกษาในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เองที่ต้องเต็มเปี่ยมด้วยองค์คุณธรรมภายในจิตใจ ซึ่งพร้อมที่จะหยิบยื่นให้ผู้อื่นด้วยการชักนำให้เกิดความเชื่อ ความเคารพ น่าเลื่อมใส น่านิยมชมชอบ เกิดความซาบซึ้งใจ เมื่อเกิดความศรัทธาขึ้นแล้วจิตใจย่อมน้อมรับทุกเรื่อง ทำให้สามารถชี้นำทางความคิด ทัศนคติ ค่านิยม ความรู้ ความเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างถูกต้องที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฉะนั้น กัลยาณมิตรจึงมีอิทธิพล ต่อจิตใจให้เกิดศรัทธา ตรงกันข้ามถ้าไม่มีศรัทธาก็จะไม่ประทับใจ แต่สิ่งสำคัญของศรัทธาต้องประกอบด้วยปัญญา สัมมาทิฏฐิ ควบคู่กันไปด้วย

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕